ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

สุรีพร อย่างสวย
พนายุทธ เชยบาล

บทคัดย่อ

 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำ                     เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษา และ5) สร้างสมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา โดยศึกษาจากแบบปฏิบัติการที่เป็นเลิศ เป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ที่มาจากการเลือกแบบเจาะจง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำ  เชิงนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบไม่มีโครงสร้างตายตัว และแบบยืนยันองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและร้อยละ ระยะที่ 2 ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 368 คน โดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีความเชื่อมั่น เท่ากับ .989 และ .993 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดดอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา มี 4 องค์ประกอบ 30 ตัวชี้วัด คือ (1) องค์ประกอบการมีส่วนร่วม/การทำงานเป็นทีมมีจำนวน 7 ตัวชี้วัด (2) องค์ประกอบการมีวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลงมีจำนวน 7 ตัวชี้วัด (3) องค์ประกอบความคิดสร้างสรรค์มีจำนวน 7 ตัวชี้วัด (4) องค์ประกอบการสร้างบรรยากาศองค์การนวัตกรรมมีจำนวน 9 ตัวชี้วัด 2) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี อยู่ในระดับมาก 3) ความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี อยู่ในระดับมาก 4) ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี  มีความสัมพันธ์กัน 5) สมการพยากรณ์ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์การสมรรถนะสูงของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี โดยใช้ภาวะผู้นำ เชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นตัวแปรพยากรณ์ ได้อำนาจพยากรณ์ร้อยละ 70.00


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

พนายุทธ เชยบาล, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

References

จีราภา ประพันธ์พัฒน์. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชนัญญา ธรรมศร. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมของผู้นำกับความเป็นองค์การสมรรถนะสูงกรณีศึกษา การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชัชญาภา วัฒนธรรม. (2554). เอกสารประกอบการสอน รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ณัชญานุช สุดชาดี. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างภาวะผู้นำของผู้บริหารและพฤติกรรมองค์การที่ส่งผลต่ององค์การสมรรถนะสูง: การวิเคราะห์อิทธิพลผ่านตัวแปรคั่นกลาง. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 67-77.

ฐิตินันท์ นันทะศร. (2563).การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ถนอมวรรณ ช่างทอง. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และความเป็นองค์กรดิจิทัลของสถานศึกษา ในอำเภอท่าชนะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนัตถ์พร โคจรานนท์. (2562). การพัฒนาระบบบริหารจัดการโรงเรียนประถมศึกษาสู่องค์การสมรรถนะสูง. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

เนาวรัตน์ เยาวนาถ. (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

เชียงใหม่.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิศวกร ชัยเชิดชู. (2554). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาระยอง เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

สมยศ ดวงไพชุม และคณะ. (2563). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ 2564 สพป.

อุดรธานี เขต 1. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระยะ 5 ปี (ระยะแรก 3 ปี พ.ศ. 2563-2565). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2557). เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2558 Public sector management quality award. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์.

อรพิน อิ่มรัตน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อัมพร พินะสา. (2563). สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ. เอกสารประกอบการประชุมชี้แจงนโยบาย การบริหารการศึกษาเรื่อง สพฐ. วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ วันที่ 7 ตุลาคม 2563 ประชุมทางไกล ผ่านช่อง OBEC Channel.

ฮิวจ์ เดลานี. (2562). การศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21 การพัฒนาทักษะคือหัวใจสำคัญของการศึกษา. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2564, จาก

https://www.unicef.org/thailand/th/stories/การศึกษาสำหรับศตวรรษที่-21.

De Waal, (2007). The characteristics of a high performance organization. Business Strategy Series, 8(3), 1-10, 179-185. Retrieved September 12, 2015, from http://www.hpocenter.nl/wp-content/uploads/2013/07/Business-Strategy-Series-2007- HPO.pdf.

Epstein, M. J. (2004). The drivers and measures of success in high performance organizations. In: Epteien, M. J. and J.F. Manzoni (eds). performance measurement and management control: superior organizations performance. Studies in managerial and financial accounting, volume 14. Elsvier, Amse]terdam.

Linder, J.C.,and Brooks, J.D. (2004). Transforming the public sector. Outlook Journal, 3, 26-35.