การพัฒนาบุคลิกภาพของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณทิต วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ผ่านการ จัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning)

Main Article Content

ราชวงศ์ นวลอินทร์

บทคัดย่อ

การดำเนินการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบบุคลิกภาพของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณทิต วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรีที่ผ่านการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ เทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบบุคลิกภาพของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณทิต วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี ก่อนเรียนกับหลังเรียนผ่านการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ และเพื่อเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่ต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ โดยมีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน50 คน ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินชีวิตโดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาพรวม พบว่า 1) ผลการประเมินตนเองหลังเรียนของผู้เรียนภายหลังผ่านการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) เทียบเท่ากับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 80 อยู่ในระดับดีมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีผลการประเมินเฉลี่ยเฉลี่ยเท่ากับ 15.34


2) ผลการประเมินบุคลิกภาพหลังเรียนของผู้เรียนภายหลังผ่านการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) มีผลการประเมินตนเองสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning)  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 3) ผลการสัมภาษณ์เกี่ยวกับทัศนคติที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้านการวิจัยภายหลังผ่านการเรียนรู้แบบกิจกรรมเป็นฐาน พบว่า ผู้เรียนมีความพึงพอใจที่ดีต่อการจัดการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ (Active Learning) ว่าเป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาบุคลิกภาพของตนเองจากกิจกรรมที่กำหนด และประสบการณ์ตรง เสริมสร้างทักษะในการคิดวิเคราะห์ และสืบค้นข้อมูลด้วยตนเอง เสริมสร้างทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น สนุกสนานกับการเรียนรู้ และรู้สึกผ่อนคลาย เพิ่มความมั่นใจในการกล้าแสดงออกให้แก่ผู้เรียน สร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ และทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนรู้ได้ดี    


 

Article Details

บท
Research Articles

References

จักรแก้ว นามเมือง. (2560) บุคลิกภาพของครูและลักษณะการสอนที่ดี. วารสารบัณฑิตแสง

โคมคำ ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน

จิรายุทธิ์ อ่อนศรี. (2561) ACTIVE LEARNING สู่การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. ออนไลน์.

http://www.nwm.ac.th/nwm/wp-content/uploads/2018/03/ACTIVE-LEARNING-pdf

ธัญญาพร ก่องขันธ์, (2560), การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

เรื่อง ปัญหาสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และความพึงพอใจของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิจัยรําไพพรรณี ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน - ธันวาคม 2560. หน้า 139 – 147.

บุษยากร ตีระพฤติกุลชัย.(2561) การพัฒนาบุคลิกภาพนักสื่อสารโดยใช้กิจกรรมบทบาท

สมมุติและกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2561. หน้า 81 – 98.

ยุราวดี เนื่องโนราช (2558), จิตวิทยาพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

วิชา เลี่ยมสกุล และทรงศักดิ์ สองสนิท (2562),การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบ

ผสมผสานโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานร่วมกับเทคนิคคิดนอกกรอบเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในระดับปริญญาตรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีที่ 25 ฉบับที่ 4. (ตุลาคม-ธันวาคม) 98-110.