การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

สุรศักดิ์ ลือขจร

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูปฐมวัย 2) เพื่อพัฒนา การนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานวิชาการและครูปฐมวัยในกลุ่มเครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ 17 ศิลาลาด จังหวัดศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2562 รวม 44 คน จาก 15 โรงเรียน ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการพัฒนาการนิเทศภายใน 2) แบบสอบถาม จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (Dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีสภาพปัญหาและข้อมูลพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รวมทั้งมีปัญหาและต้องการพัฒนาระบบนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย อยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นร่วมวางแผนการนิเทศ (2) ขั้นร่วมทำร่วมพัฒนา (3) ขั้นร่วมเรียนรู้สู่การแก้ปัญหา และ (4) ขั้นร่วมสะท้อนและสรุปผล 3) ผลการทดลองใช้การพัฒนาการนิเทศภายในเพื่อพัฒนาส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ตามแนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย  สำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด 17 จังหวัดศรีสะเกษ มีดังนี้ (3.1) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) ก่อนได้รับนิเทศภายใน ร้อยละ 40.95  และหลังการนิเทศภายใน ร้อยละ 59.05 ซึ่งสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05   (3.2) ค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) ด้านเจตคติ ก่อนได้รับการนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 42.80 และหลังการรับนิเทศภายใน คิดเป็นร้อยละ 57.20 ซึ่งครูมีเจตคติที่ดีสูงกว่าก่อนได้รับการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) บุคลากรที่เกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อการพัฒนาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

ทักษิณา เหลืองทวีผล. (2557). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

ภิญโญ สาธร. (2559). หลักการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : การศาสนา.

ยมนพร เอกปัชชา. (2557). การพัฒนารูปแบบการนิเทศแบบเสริมพลัง เพื่อเสริมสร้าง

สมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของครูปฐมวัย. บัณฑิต

วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

วชิรา เครือคำอ้าย. (2552). การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู

เพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา.

บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฐาน. (2560). คู่มือนิเทศการนิเทศเพื่อเสริมสร้าง

ประสิทธิภาพการนิเทศภายในโรงเรียน. กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและส่งเสริม

สวัสดิการครู.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). การพัฒนาคุณภาพการศึกษายุคปฏิรูปใหม่.

กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.