การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนในระดับประถมต้น

Main Article Content

สาวิตรี พิพิธกุล
อภัสรา ไชยจิตร์
ฉัฐระพี โพธิ์ปิติกุล
ขวัญใจ ดีจริง
เพ็ญศรี อมรศิลปชัย

บทคัดย่อ

การพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนเชิงรุกเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนในระดับประถมต้น เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองและเรียนรู้ร่วมกัน โดยบูรณาการกับการเรียนเชิงรุก ซึ่งงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยการเรียนเชิงรุกและเพื่อตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบกิจกรรมดังกล่าว โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาสร้างรูปแบบกิจกรรมฯ จากนั้นจึงนำรูปแบบกิจกรรมที่ได้ ไปสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญและให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินคุณภาพของรูปแบบฯผลการวิจัย พบว่า รูปแบบกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลและมี 6 ขั้นตอนของกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ กำหนดปัญหา วิเคราะห์ปัญหา ออกแบบการแก้ปัญหา ดำเนินกิจกรรมการแก้ปัญหา ตรวจสอบการแก้ปัญหาและนำเสนอผลงาน ซึ่งส่งผลต่อทักษะการแก้ปัญหา โดยรูปแบบดังกล่าวมีคุณภาพตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในระดับ 4.59 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

อภัสรา ไชยจิตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Nakhon Ratchasima Rajabhat University

ฉัฐระพี โพธิ์ปิติกุล, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Nakhon Ratchasima Rajabhat University

ขวัญใจ ดีจริง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Nakhon Ratchasima Rajabhat University

เพ็ญศรี อมรศิลปชัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Nakhon Ratchasima Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ปัณฑิตา อินทรักษา. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วย Active Learning เพื่อการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. วารสารคุรุศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 1(1) : 35-43.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 21. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2561. หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). Unplugged Coding (ประถมต้น) ฉบับโรงเรียนพื้นที่ห่างไกล. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.).

Bell, T. (2018, August 2018). CS Unplugged and Computational thinking. Paper presented at the Constructionism, 2018, Vilnius, Lithuina.

Bell, T., Rosamond, F., & Casey, N. (2012). Computer science unplugged and related projects in math and computer science popularization The multivariate algorithmic revolution and beyond (pp.398-456): Springer.

Bonwell, C.; Eison, J. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. AEHE-ERIC Higher Education Report No.1. Washington, D.C.: Jossey-Bass.

Curzon,P.,& McOwan, P.W.(2017). The power of computational thinking: games, magic and puzzles to help you become a computational thinker: World Scientific Publishing Company

Gifkins, J. (2015,October,8). What Is ‘Active Learning’ and Why Is It Important?. สืบค้นจากhttps://www.e-ir.info/2015/10/08/what-is-active-learning-and-why-is-it22. İmportant.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological process. Cambridge, MA: Harvard University Press.