แนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดเลย

Main Article Content

ณัฏฐชัย ปานชะเล
สุชาดา บุบผา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1)  เพื่อหาแนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย 2)  เพื่อประเมินแนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย การประเมินแนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน โดยใช้แบบประเมินแนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส ซึ่งเป็นแบบประเมินแนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลจากการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพภายในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย ดังนี้ มาตรฐานที่ 1 คุณภาพผู้เรียน มีแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง มาตรฐานที่ 2 กระบวนการบริหารและการจัดการ มีแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง และมาตรฐานที่ 3 กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง โดยได้แนวทางการบริหารจัดการประกันคุณภาพการศึกษาตามกรอบการประเมินทั้ง 3 มาตรฐานของการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกระบวนการ POLC 2) ผลการประเมินแนวทางการบริหารจัดการงานประกันคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดเลย  มี ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความคุ้มค่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สุชาดา บุบผา, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Udon Thani Rajabhat University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2554). มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพ

ภายใน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จันทร์สุดา บุตรชาติ และคณะ. (2555). การพัฒนารูปแบบการประกันคุณภาพภายใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร

เขต 1. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

ณัฐตะวัน ลิ้มประสงค์ (2556). การบริหารจัดการการประกันคุณภาพสถานศึกษาสำหรับ

อนาคต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธรรมสิทธิ์ เพ็ชร์ศรีงาม (2560). กลยุทธ์การส่งเสริมการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการประกัน

คุณภาพภายในของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ศิลปากร.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134

ตอนที่ 40 ก 6 เมษายน 2560.

วิลัยพร พิทักษา (2561). รูปแบบการบริหารจัดการการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศใน สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนา

เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ.2560-2564. กรุงเทพฯ: วี.เจ. พริ้นติ้ง.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2558).

การปฏิรูประบบการประเมินคุณภาพ ภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563).

กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2553).การ

ประชุมวิชาการงาน 9 ปี สมศ. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อำนาจ จันทรขำ. (2555). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาใน สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.