พัฒนาบทเรียนด้วย Google Classroom เรื่อง แผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนด้วย Google classroom ร่วมกับหนังสือแผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้บทเรียนแบบผสมผสาน และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ นักเรียนระดับชั้นมัยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านนาฝายวิทยาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 26 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ 1)บทเรียนแบบผสมผสานมีประสิทธิภาพ 81.38/84.25 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 30 ข้อมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.63 และ 3)แบบประเมินความพึงพอใจ 5 ระดับ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ เท่ากับ 0.43–0.80 สถิติที่ใช้ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบ (t-test dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของบทเรียนด้วย Google classroom ร่วมกับหนังสือแผ่นดินถิ่นรักษ์ชัยภูมิสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เท่ากับ 81.38/84.25 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนแบบผสมผสาน สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.20 S.D. = 0.88)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
เกียรติศักดิ์ จันทรา. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ วิชาคอมพิวเตอร์ 1 เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุปผาชาติ ทัฬหิกรณ์ และคนอื่นๆ. (2544). ความรู้เกี่ยวกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
ประวิทย์ สิมมาทัน. (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบร่วมมือบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี โดยอาศัยแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ลักขณา สุกใสและคณะ. (2563). การพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้แบบ ผสมผสานของหลักสูตรท้องถิ่นชัยภูมิ “แผ่นดินถิ่นรักษ์”สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา. โครงการวิจัย. : มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
เสาวลักษณ์ จิตรักษ์. (2552). ผลของการใช้สื่อบนเครือข่ายที่พัฒนาตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึมวิชาสื่อการสอนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
เสาวลักษณ์ ปีกกลาง. (2552).การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ รายวิชาฟิสิกส์ เรื่อง แสง ของนักเรียนมัธยมศึกษาปี่ที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม.
Bailey, G. D., and Blythe, M.(1998) “Outlining Diagramming and Storyboarding or How to Create Great Educational Websites.” Learning & Leading with Technology. 25:7-11. Banks, J. A. Teaching Strategies for the Social Studies : Inquiry, Valuing and Decision-making. New York : Longman, 1985.