การบริหารทุนมนุษย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

เอลวิส โคตรชมภู
จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งนำเสนอแนวคิดในการบริหารทุนมนุษย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นองค์กรในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ บุคคลสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาระดับโรงเรียนซึ่งเป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ทุกคนในประเทศต้องได้เข้าศึกษา ผู้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการเพื่อสร้างคุณภาพในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในสถานศึกษาก็คือ“ผู้บริหารสถานศึกษาและครู” ซึ่งการบริหารทุนมนุษย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีองค์ประกอบการพัฒนาทุนมนุษย์ ได้แก่ การพัฒนาความรู้ การพัฒนาทักษะ การสร้างค่านิยม การส่งเสริมความมุ่งมั่นในการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ การส่งเสริมวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการให้การปรึกษา และการประเมินผลการพัฒนา นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่สร้างพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการทุนมนุษย์ของสถานศึกษาเพื่อให้การบริหารทุนมนุษย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานประสบความสำเร็จ ได้แก่ กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy) กลยุทธ์พลิกฟื้น (WO Strategy) กลยุทธ์รักษาเสถียรภาพ (ST Strategy) และกลยุทธ์ตัดทอน (WT Strategy) การบริหารทุนมนุษย์ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพจะทำให้สถานศึกษามีทุนมนุษย์ที่มีศักยภาพเพียงพอแก่การสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาชองชาติได้อย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ เกิดกลยุทธ์ในการพัฒนาทุนมนุษย์ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนาประเทศของรัฐบาล


 

Article Details

บท
Articles
Author Biography

จุฬาพรรณภรณ์ ธนะแพทย์, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กนกพร ลีลาเลิศประเสริฐ และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2560). “การบริหารจัดการทุนมนุษย์ของโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน”, วารสารคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 6(3).

กรรณิการ์ ดาวธง. (2560). แนวคิดการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่การบริหารจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management : HCM). สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/227350

กันยารัตน์ จันทร์สว่าง. (2562). “ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง : กระบวนทัศน์ใหม่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์”, วารสารวิทยาการจัดการ. 6(2): 209-216.

โชคชัย สุเวชวัฒนกูล และ กนกกานต์ แก้วนุช. (2555). ทางเลือก-ทางรอดจากวิกฤตเศรษฐกิจของกิจกรรมทุน มนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง: กิจกรรมการบริหารและการพัฒนาทุนมนุษย์. การประชุมวิชาการระดับชาติในวันคล้ายวันสถาปนาสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ประจำปี 2555. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ประไพทิพย์ ลือพงษ์. (2555). “การพัฒนาทุนมนุษย์ให้มีสมรรถนะความสามารถในการแข่งขัน”, วารสารนักบริหาร. 12(1): 103-108.

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2560). การจัดการและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ:ปัญญาชน.

วิรัลพัชร นันทินบัณฑิต และ มัทนา วังถนอมศักดิ์. (2564, กันยายน–ธันวาคม). “การพัฒนาทุนมนุษย์ของโรงเรียนสังกัดเทศบาล”, วารสารศิลปการจัดการ. 5(3).

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2560). ผลการประเมิน PISA การอ่านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์: บทสรุปเพื่อการบริหาร. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

Chinphaisarn, T. (2017). Strategic Planning and Management. Bangkok: Thanathart Printing.

Hongladarom, J. (2012). “Technology Transfer and Skill Development”, in The International Seminar on Human Resources Development: Concept, Principles, Needs and Cooperation in the Region, ed. C. Hongladarom, The Human Resources Institute, Thammasat University, Bangkok.

Nikornpittya,S.,Kosonkittiumporn,S.,Suttisai,W.,&Poosri,S.(2015).HumancapitaldevelopmentofSub-districtadministrativeorganizationsundertheRoi-Kaen-Sara-SinProvincialcluster.RajabhatMahaSarakhamUniversityJournal,9(3),187-196.