ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
บทความวิชาการฉบับนี้มุ่งนำเสนอเรื่องภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวแบบความประพฤติปฏิบัติที่ดีทางจริยธรรม เป็นที่ยอมรับแก่ผู้ตามทั้งในด้านความซื่อสัตย์สุจริต ความน่าไว้วางใจ ความยุติธรรมและความเอาใจใส่ ผนวกเข้ากับแนวคิด หลักการทางวิชาการ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การงบประมาณ และการบริหารทั่วไป เพื่อนำไปสู่แนวทางในการปรับปรุงสถานศึกษาโดยการใช้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นศตวรรษแห่งการตื่นตัวเพื่อการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายสาขาวิชาการ และในหลากหลายกระบวนทัศน์ ผู้เขียนจึงให้ความสนใจต่อการนำเสนอคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ควรเป็นผู้ที่มีค่านิยมและจริยธรรมของการเป็นผู้นำสูง เนื่องจากเป็นสิ่งที่ผู้นำทางการศึกษาต้องถือเป็นความตระหนักในภารกิจความรับผิดชอบ ความเอาใจใส่อย่างยิ่งยวดต่อสถานศึกษาและชุมชน สำหรับในศตวรรษที่ 21 ผู้บริหารสถานศึกษาจึงต้องมีความรู้คู่คุณธรรมซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีพื้นฐานด้านทักษะ ศักยภาพ วิสัยทัศน์และความสามารถรอบด้านในการบริหารสถานศึกษาเพื่อบรรลุความสำเร็จ ควบคู่กับพื้นฐานการมีคุณธรรมจริยธรรมที่สูง มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ชุติมา รักษ์บางแหลม, เอกรินทร์ สังข์ทอง, ชวลิต เกิดทิพย์ และชิดชนก เชิงเชาวน์. (2559). “ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม: หนทางสู่การขับเคลื่อนภาวะผู้นำในสถาบันศึกษา”. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 8 (1): 168-180.
ธัญวิทย์ ศรีจันทร์, สิริฉันท์ สถิรกุล และปทีป เมธาคุณวุฒิ. (2559). “การวิเคราะห์องค์ประกอบ คุณลักษณะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 ของกรรมการองค์กรนิสิตนักศึกษา”. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(2): 139-156.
บุษยพรรณ พรหมวาทย์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21.โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยพะเยา.
ประยูร พรหมพันธุ์. (2559).“การบริหารงานบุคคลกับคุณธรรมและจริยธรรมในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. วารสารดำรงราชานุภาพ, 7(23): 70-88.
ผุย รตฺนโชโต. (2558). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักพรหมวิหาร 4 ที่ส่งผลต่อการ ปฏิบัติงานของครู โรงเรียนสังกัดเทศบาลนครสกลนคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนครพนม.
พรชัย เจดามาน. (2560). ผู้นำในศตวรรษที่ 21: ไทยแลนด์ 4.0. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564, จาก https://www.kroobannok.com
พระธรรมปิฎก (ป.อ ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท เอสอาร์พริ้นติ้งแมสโปรดักส์ จำกัด.
เพ็ญศิริ สมเรือน (2560). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันตก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจวิทยาลัย.
รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎี การวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: บริษัท ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2556. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์ พับลิเคชั่นส์.
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ (2560). คุณธรรม จริยธรรมสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. สงขลา: นำศิลป์โฆษณา.
สุเทพ ปาลสาร. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุธาสินี แม้นญาติ. (2554). โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุรัตน์ ไชยชมภู. (2557, เมษายน-กันยายน). “ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรมในการบริหารสถานศึกษา”. วารสารวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, 8 (2): 1-15.
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559).การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in Digital Era). สืบค้นเมื่อ 4 กันยายน 2564, จาก https://www.trueplookpanya.com
Bass, B. M. (1985). Leadership and Performance Beyond Expectations. New York: Basic Books.
Brown, M.E., & Trevio, L.K. (2006). Role modeling and ethical leadership. Paper presented at
Atlanta, Georgia - August 11-16, 2006 Academy of Management Annual Meeting. Atlanta, GA: University of Maryland.
Brown, M. E., Treviño, L. K., & Harrison, D. A. (2005). Ethical leadership: A social learning perspective for construct development and testing. Organizational Behavior and Human Decision Processes, 97(10): 117-134.
Burns, J.M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.
Hicks, Terry Allan. (2010). Saturn Space. New York: Marshall Cavendish Benchmark,
Huitt, W. G. (2002). Moral and Character Development. Valdosta State University.
<http://eric.Uregon.edu/publications/digests/digest107.> April 23.
Robbins, S. P. (2003). Organizational Behavior. 10thed. New York: Prentice-Hall.
Strauss, L. (2010). 10 Skills critical to owning an outstanding future. Retrieved on October 28, 2021, from http://www.successful-blog.com/1/10-critical-skills-of-highly-successful-21st-century-leaders/