การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง

Main Article Content

วสันต์ บุญล้อม

บทคัดย่อ

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้สูญเสียทรัพยากรและบุคลากรจากอุบัติเหตุในการทำงานไปเป็นจำนวนมาก ซึ่งสาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุเกิดจากพฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัยของพนักงานเอง บทความนี้ได้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงาน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง หลังการดำเนินโครงการ“การไฟฟ้าปลอดภัย”ตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ. 2563 ซึ่งโครงการดังกล่าวได้ให้ความสำคัญกับการทำงานด้วยความปลอดภัย การส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้          มีทัศนคติ และจิตสำนึกที่ดี ในเรื่อง ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อยกระดับมาตรฐาน   การจัดการด้านความปลอดภัย และสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัย โดยเน้นการพัฒนาบุคลากร การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการจัดทำคู่มือและขั้นตอนในการทำงานด้วยความปลอดภัย ซึ่งจากการศึกษาผลการดำเนินโครงการดังกล่าวพบว่า กลุ่มตัวอย่างพนักงานทั้งหมดซึ่งเป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 35.22 ปี   มีประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 8.22 ปี และได้รับการอบรมหลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ร้อยละ 8.10 ถูกกำหนดให้ทำกิจกรรมหยั่งรู้      ความปลอดภัย (Kiken Yoshi Training, KYT) และ Safety talk ก่อนการทำงานในทุกๆ ครั้ง เพื่อเน้นการมีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงาน การตรวจสอบให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอนความปลอดภัย เช่น การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment, PPE) ตลอดระยะเวลาที่ทำงาน การสำรวจพื้นที่      การทำงาน การวางป้ายเตือนอันตรายและกรวยยางเพื่อกั้นพื้นที่การทำงาน พื้นที่อันตราย ออกให้ชัดเจน การตั้งการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันที่สถานีไฟฟ้าต้นทางเพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงานผิดพลาด การติดตั้งอุปกรณ์ต่อลงดินทุกครั้งที่มีการทำงานด้วยวิธีดับไฟ     เน้นย้ำให้มีผู้ควบคุมและตรวจสอบ การทำงานแต่ละขั้นตอนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งผลการประเมินโดยการใช้แบบสังเกตพฤติกรรม หลังการดำเนินโครงการ พบว่า โครงการดังกล่าวมีส่วนช่วยให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนัก และให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัย โดยเฉพาะการใช้อุปกรณ์ด้านความปลอดภัยดียิ่งขึ้นโดยมีแนวโน้มในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานด้วยความปลอดภัย และส่งผลโดยตรงกับผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่งอย่างชัดเจน อีกทั้ง กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการยังสามารถนำมาใช้เป็นแนวทาง หรือต้นแบบด้านความปลอดภัยให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคอื่น ๆ เพื่อช่วยในการวางแผน การควบคุม และการป้องกันอันตรายอันเนื่องมาจากการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

Article Details

บท
Articles

References

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ. (2559). เอกสารการสอนชุด

วิชาการบริหารงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (54102) หน่วยที่ 1-7 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1. นนทบุรี : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กองวางแผนวิสาหกิจ ฝ่ายนโยบายและยุทธศาสตร์. (2563). แผนยุทธศาสตร์การไฟฟ้า

ส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2557-2566 (ทบทวนครั้งที่ 5 พ.ศ.2562). กรุงเทพฯ : กองการ

พิมพ์ ฝ่ายธุรการ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค.

กองความปลอดภัยอาชีวอนามัย ฝ่ายบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย. (2563). สถิติ

อุบัติภัย ของ กฟภ. ปี 2562. กรุงเทพฯ : กองการพิมพ์ ฝ่ายธุรการ การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2559). พิมพ์เขียว

Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน.

สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2564, จาก

https://www.nstda.or.th/home/knowledge_post/blueprint-thailand-4/

ศูนย์พยากรณ์และสารสนเทศพลังงาน สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.). สถานการณ์

พลังงาน 6 เดือนแรก ของปี 2564 และแนวโน้มทั้งปี 2564.

สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2564, จาก http://www.eppo.go.th/index.php/th/eppo-intranet/itemlist/category/333-caenergysituation

ราชกิจจานุเบกษา. (2521). พระราชบัญญัติ ความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้า

ที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. 2551. สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2564, จาก

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2551/A/036/17.PDF

ราชกิจจานุเบกษา. (2554). พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ

สภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554. สืบค้นเมื่อ 1 ส.ค. 2564, จาก

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2554/A/004/5.PDF