การพัฒนาความสมานฉันท์ของประชาชน : ตามแนวทางอริยสัจ 4

Main Article Content

พระมหาตะวัน พิมพ์ทอง
พระมหาธงชัย ธรรมทวี
สุทัศน์ ประทุมแก้ว

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มุ่งศึกษาการพัฒนาความสมานฉันท์ของประชาชน :ตามแนวทางอริยสัจ 4 จากการศึกษาพบว่า การพัฒนาความสมานฉันท์ของประชาชน มีความสำคัญตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กล่าวคือ วัด บ้าน โรงเรียน จะสงบสุขได้ เพราะประชาชนส่วนใหญ่นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต พระสงฆ์ ครู และผู้นำชุมชน ควรมีบทบาทช่วยเหลือการพัฒนาความสมานฉันท์ของประชาชน กล่าวคือ (1) สร้างความสามัคคีในชุมชน (2) ช่วยเหลือแบ่งเบาการพัฒนาความสมานฉันท์ของประชาชนได้เป็นอย่างดี (3) สามารถช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ได้ เช่น (1) ความขัดแย้งด้านชุมชน (2) ความขัดแย้งด้านผลประโยชน์ (3) ความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ (4) ความขัดแย้งด้านคุณค่าหรือค่านิยมทางสังคมและ(5) ความขัดแย้งด้านโครงสร้าง โดยมีการบูรณาการหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเข้ามาพัฒนาความสมานฉันท์ของประชาชนให้เป็นไปตามแนวทางของอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธและมรรค ซึ่งเป็นแนวทางในการพัฒนาความสมานฉันท์ให้กับชุมชน สังคม อยู่อย่างสันติสุข

Article Details

บท
Articles
Author Biographies

พระมหาธงชัย ธรรมทวี , มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

สุทัศน์ ประทุมแก้ว, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Mahachulalongkornrajavidyalaya University

References

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2561). การดำเนินงานชุมชนคุณธรรมขับเคลื่อนด้วยพลังบวร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรไทย.

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2559). การพัฒนารูปแบบ:การขับเคลื่อนชุมชนคุณธรรมด้วยพลัง “บวร”. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2562). คู่มือการส่งเสริมและพัฒนาองค์กร ชุมชน อำเภอ และจังหวัดคุณธรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ชลัท ประเทืองรัตนา. (2564). “การพัฒนาสมรรถนะผู้นำด้วยรูปแบบนวัตกรรมการสร้างวิศวกรสันติภาพท้องถิ่นที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ชุมชนให้เกิดสันติสุข”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. ปีที่ 9 ฉบับที่ 3 (พฤษภาคม 2564).

พระธรรมปิฏก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). สลายความขัดแย้ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สหธรรมิก.

พรกิจ กิจจารุวัฒนากูล. (2551). “การประยุกต์ใช้หลักธรรมเพื่อแก้ปัญหาครอบครัวในสังคมปัจจุบัน”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,

______.(2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : นิตยสารสำนักงานศาลยุติธรรม.