การพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาในการสื่อสารโดยใช้เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พัชรี สีจรูญ
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาในการสื่อสารโดยใช้เกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านภาษาในการสื่อสารของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นเด็กเล็ก 2 อายุระหว่าง 4-5 ปี จำนวน 15 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนิคมโนนสมบูรณ์ อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ได้มาจากวิธีสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาจำนวน 8 แผน แบบทดสอบความสามารถทางด้านภาษาของเกมการศึกษาทั้ง 4 ชุดและแบบประเมินความสามารถทางด้านภาษาในการสื่อสาร ซึ่งได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 คน โดยมีความเหมาะสมในระดับมาก การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบ (t-test) ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาความสามารถทางด้านภาษาในการสื่อสารโดยใช้เกมการศึกษา มีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 14 คนคิดเป็นร้อยละ 93.33 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อเปรียบเทียบความสามารถทางด้านภาษาในการสื่อสารหลังจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษามีคะแนนเฉลี่ย (=8.20, S.D.=1.98) สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษา (=3.60 S.D.= 1.53) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทุกด้านมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

North eastern University

References

กระทรวงมหาดไทย. (2561). แบบบันทึกผลการประเมินพัฒนาการเด็กปฐมวัย (ศพด.02/2).กรุงเทพฯ:กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การส่งเสริมศักยภาพทางภาษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

จินตนา กรุพิมายและคณะ. (2558). การพัฒนาความสามารถทางภาษาด้านการฟังและการพูด ของเด็กปฐมวัยโดยการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม TCI กลุ่ม 1, 12 .

ดวงเดือน ศาสตรภัทร. (2552). การเปรียบเทียบทฤษฏีพัฒนาการเด็ก. กรุงเทพฯ : ภาควิชาจิตวิทยา. คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

นายกรัฐมนตรี, สำนัก. (2555). แผนการศึกษาชาติ(พ.ศ. 2545-2549 ). กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค.

เบญจวรรณ ขุนทวีและคณะ. (2557). ผลการจัดประสบการณ์โดยใช้เกมการศึกษาที่มีต่อความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ขั้นพื้นฐานของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

เพ็ญจันทร์ เงียบประเสริฐ (2542). คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊ค พับลิเคชั่นส์.

ลักคะณา เสโนฤทธิ์. (2551). ผลการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาที่มีต่อพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วรรณิษา บัวสุข. (2553). ความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม เกมการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2562 ).รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (พ.ศ.2559-2563) ระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนิคมโนนสมบูรณ์.กรุงเทพฯ.