การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ร่วมกับแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน

Main Article Content

กัญญาภัทร กล่อมจอหอ
สมทรง สิทธิ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมดและ 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน ให้มีคะแนนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มและมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของนักเรียนทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนสนามบินจำนวน 40 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย(Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษ  โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน จำนวน 6 แผน ดำเนินการสอนแผนละ 2 ชั่วโมง รวม 12 ชั่วโมง และมีความเหมาะสมระดับ () 4.67  2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ จำนวน 24  ข้อ  3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.26-0.74 ค่าความยากง่าย ตั้งแต่ 0.45-0.76 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 11.82   คิดเป็นร้อยละ 98.50 ของคะแนนเต็ม และมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 40 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค LT ร่วมกับแนวคิดการใช้สมองเป็นฐาน มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 25.65 คิดเป็น ร้อยละ 85.50 ของคะแนนเต็มและมีจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 35 คน คิดเป็นร้อยละ 87.5 ของนักเรียนทั้งหมด


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

สมทรง สิทธิ, มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

North eastern University

References

กระทรวงศึกษาธิการ,(2551) หลักสูตรแกนกลางการศึกษาพื้นฐาน (พุทธศักราช.2551). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย,จำกัด.

กาญจนาภรณ์ คำแก้ว.(2560).การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่าน การเขียนคำศัพท์และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 วิชาภาษาอังกฤษ ระหว่างการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐานและการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ชนินทร์ธรณ์ คัญทัพ.(2555).การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดย ใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบใช้สมองเป็นฐาน (Brain – Based Learning) บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฎฐิณี ทินวงษ์. (2554). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา การค้นคว้าอิสระ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ภาควิชาภาษาตะวันตก บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิศนา แขมมณี. (2548) ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ พิมพ์ครั้งที่ 20 .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิสาข์ จัติวัตร์.(2541). การสอนภาษาอังกฤษ. นครปฐม : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์.(2550). การจัดกิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน. มหาสารคาม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุคนธ์ สินธพานนท์.(2554). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. กรุงเทพฯ :เทคนิคพริ้นติ่ง.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 7, กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

อาภาณ์ ใจเที่ยง.(2553). หลักการสอน. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

Caine, R. N. & Caine, G. (1989).12 Principles for Brain – Based Learning Retrieved May 5, 2017,