กิจกรรมกลุ่มการให้คำปรึกษาเชิงสติเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียน ของนักศึกษาครูรักษ์ถิ่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนของนักศึกษาการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดยการเปรียบเทียบก่อนและหลังทดลองของกลุ่มตัวอย่างเดียวภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มการให้คำปรึกษาเชิงสถิติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาทุนโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น สาขาวิชาการประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1)แบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียน 2)กิจกรรมกลุ่มการให้คำปรึกษาเชิงสติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Nonparametric ด้วยเทคนิค Wilcoxon signed Rank test ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มการให้คำปรึกษาเชิงสติเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนครั้งนี้ นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่นมีคะแนนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มการให้คำปรึกษาเชิงสติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมกลุ่มการให้คำปรึกษาเชิงสติสามารถส่งเสริมคุณภาพจิตของนักศึกษาให้มีความมุ่งมั่นพยายามและมีสมาธิในการเรียนได้
Article Details
References
ขจิตต์นิษฐา สรรพสิริมงคล. (2562). การเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนดนตรีด้วย
กิจกรรมตามแนวพุทธจิตวิทยา: กรณีศึกษานักเรียน ศูนย์ดนตรีดุริยะมิวสิค จังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชวนพิศ เปรมกมลและศรีสมร สุริยาศศิน. (2562). ผลการให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีการให้
คำปรึกษาแบบผู้รับการปรึกษาเป็นศูนย์กลางของ Carl R.Rogers ต่อการปรับตัวด้านการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสาร “ศึกษาศาสตร์ มมร” คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 7(2), 525-537.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2552). พุทธธรรม (ฉบับปรับปรุงและขยายความ).
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนตรี หลินภู. (2563). รูปแบบการให้คำปรึกษากลุ่มตามแนวสติปัฏฐานเพื่อสร้างเสริมสุข
ภาวะทางปัญญาตามหลักพุทธธรรมของผู้ต้องขัง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,กรุงเทพฯ.
ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์. (2560). สร้างสุขด้วยสติในองค์กร(4). กลุ่มที่ปรึกษากรม
สุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: บียอนด์พับลิสซิ่ง.
รักษมน ยอดมิ่ง. (2562). แรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษและการใช้ระบบการจัดการ
เรียนรู้มายคอร์สวิลล์ในชั้นเรียน. วารสารเกษมบัณฑิต. 20(2), 81-90.
วัชรี ทรัพย์มี. (2554). ทฤษฎีการให้คำปรึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สินีนาฏ สุทิน. (2548). การให้คำปรึกษากลุ่มตามทฤษฎีพฤติกรรมนิยมเพื่อพัฒนาพฤติกรรม
การเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนศรีวิกรณ์ กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อนันต์ เสมรสุวรรณ. (2559). การศึกษาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในนักเรียนที่ประสบความสำเร็จ
ของนักเรียนโรงเรียนกีฬา สังกัดสถาบันการพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชลบุรี.
อาภรณ์ ดวงรัตน์. (2561). ผลการใช้โปรแกรมการฝึกสติเพื่อพัฒนาความตั้งใจจดจ่อในเด็ก
สมาธิสั้น. บัณฑิตวิทยาลัย :. มหาวิทยาลัยบูรพา,ชลบุรี.
Caballero, C., Scherer, E., West, M.R., Mrazek, M.D., Gabrieli, C. F. O., &. Gabrieli,
J.D.E.. (2019). Greater Mindfulness is Associated with Better Academic Achievement in Middle School. International Mind Brain and Education Society and Wiley Periodical, Inc. Retrieved from
Filgona, J., Sakiyo, J., Gwany, D. M., & Okoronka, A.U.. (2020). Motivation in
Learning. Asian Journal of Education and Social Studies. Article no.
AJESS.60760, Doi:10.9734/AJESS/2020/v10i460273, 16-37.
Gachenia, L. & Mwenje, M.. (2020). Effectiveness of School Counseling
Programs on Academic Achievement of Secondary School Students in Kiambu County, Kenya. International Journal of Education, Psychology and Counselling (IJEPC). 5(35), 58-64, DOI 10.35631/IJEPC.535007
Gladding, S.T. (2009). Counseling A Comprehensive Profession 6th Edition.
Dorling Kindersley(India): Licensees of Pearson Education in South Asia.
Goretzki, M. & Zysk, A.. (2017). Using Mindfulness Techniques to Improve
Student Wellbeing and Academic Performance for University Students: A Pilot Study. Journal of the Australian and New Zealand Student Services Association. 25(1), 1-14. Retrieved from https://janzssa.scholasticahq.com/article/1336.pdf.
Kabat-Zinn, J. (2013). FULL CATASTROPHE LIVING Using the Wisdom of Body
and Mind to Face Stress, Pain, and Illness. New York: Bantam Book Trade Paperback.
Leland, M. (2015). Mindfulness and Student Success. Journal of Adult
Education. 44(1), 19-24. Retrieved https://files.eric.ed.gov/fulltext/EJ1072925.pdf.
Sukhsarwala, B.T., Kacker, P., & Mukundan, C.R.. (2015). Academic Motivation,
Dispositional Mindfulness, Emotional Maturity and Academic Achievement of College Students. International Journal of Management & Behavioural Sciences (IJMBS), Vol. 6-7, 282-295.