สภาพปัจจุบัน ปัญหาและแนวทางแก้ปัญหาการจัดการเรียนรู้ ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครพนม

Main Article Content

ทวี ภูชุม
รชฏ สุวรรณกูฏ

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัญและปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการ แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมจำแนกตามสถานภาพและที่ตั้งของโรงเรียน (2เพื่อศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครพนม ในเขตเทศบาลและนอกเขตเทศบาล ผลการศึกษา  พบว่า (1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน การจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมในเขตเทศบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 0.26  ศึกษาสภาพปัญหา การจัดการเรียนรู้ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนมในเขตเทศบาล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 0.12  (2) แนวทางแก้ไขปัญหาการจัดการเรียนรู้ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา นครพนมโดยรวมอยู่ในระดับน้อยโดยใช้การเรียนรู้แบบ Online คือการเรียนผ่านทางสื่อต่างๆเตรียมแผนการเอาไว้ล่วงหน้า สำหรับเหตุการณ์ไม่คาดฝันไม่ว่าจะด้วยความไม่พร้อมของอุปกรณ์ หรือเครือข่าย ความหนาแน่นของจำนวนผู้ใช้งาน จนทำให้ไม่ว่าจะค้าง หรือไหนจะหลุด ไหนจะติดจะขัด เสียงไม่มา ภาพไม่มี On Hand คือเอกสารที่ส่งไปให้ผู้ปกครองมารับไปให้บุตรหลาน แล้วส่งกลับมาที่โรงเรียนสำหรับนักเรียนที่ไม่มีความพร้อมด้านอุปกรณ์การรับชม โดยการนำหนังสือ แบบฝึกหัด ใบงาน ไปเรียนรู้ที่บ้านภายใต้ความช่วยเหลือของผู้ปกครอง และในส่วนของมัธยมศึกษาปีที่ 4–6 ให้จัดการสอนผ่านทางระบบ Video Conference หรือระบบบริหารจัดการเรียนการสอน (LMS) ของโรงเรียน หรือระบบที่ สพท.ได้เตรียมไว้ On Site เป็นการเดินทางมาเรียนด้วยตนเองโดยยึดคำสั่งจาก ศบค.จังหวัด โดยมี สพท. เป็นผู้ดำเนินการ ควบคุม กำกับ ติดตาม และให้ความสะดวกแก่สถานศึกษา ดังนั้น นักเรียนและผู้ปกครอง ไม่จำเป็นต้องหาซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม เนื่องจากสถานศึกษาสามารถจัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสมและบริบทของตัวเองได้ On air โดยใช้สื่อ DL TV ภายใต้คำแนะนำและการติดตามดูแลของครูการเรียนการสอนผ่านทีวี (ON-AIR) ผ่านระบบดาวเทียม KU-BAND (จานทึบ) ช่อง 186-200 ระบบเคเบิลทีวี (Cable TV) และระบบ IPTV.


 

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

รชฏ สุวรรณกูฏ, มหาวิทยาลัยนครพนม

Nakhonphanom University

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ.

(ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : http://www.reo2.moe.go.th/home/index.php/login/2018-10-17-08-14- 28/588-2563 [ 3 กรกฎาคม 2564 ]

กฤษณา สิกขมาน. (2554). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาการสื่อสารภาษาอังกฤษ

ธุรกิจ โดยการใชการสอนแบบ E-Learning. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

เกริก ท่วมกลาง และจินตนา ท่วมกลาง. (2555). การพัฒนาสื่อนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อเลื่อน

วิทยฐานะ. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊ค,

จตุพร ศิริวัฒนสกุล. (2545). ความคิดเห็นตอการเรียนการสอนออนไลนผานระบบอินเตอรเน็ต(E- Learning) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะ บริหารธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

บีบีซีไทย. (2563). เกาะติดสถานการณ์โควิด-19 (ออนไลน์), เข้าถึงได้จาก : https://www.bbc.com/thai/other-news-56319853 [ 3 กรกฎาคม 2564 ]

ณัฐญาดา เอกกุล,กวี ศิริโภคาภิรมย์และสุวรีย์ศิริโภคาภิรมย์. (2557). สภาพและปัญหาการใช้

ระบบห้องสมุดอัตโนมัติในโรงเรียนตามทัศนะของผู้บริหาร ครูและเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ฐาปณีย์ ธรรมเมธา. (2557). จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. นนทบุรี : สหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.โปรดปราน พิตรสาธรและคณะ. (2545). ที่นี่ e-learning. กรุงเทพ : TJ Book