ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ

Main Article Content

มันทนา ขุมกลาง
ณัฐกิตติ์ สวัสดิ์ไธสง
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่มีต่อภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ  จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษา (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ จำนวน 309 คน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ เครื่องมือที่ใช้ในครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t การทดสอบค่า F


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

  2. ผู้บริหารสถานศึกษาและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ที่มีตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดสถานศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ แตกต่างกัน

            3. ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการในศตวรรษที่ 21 ของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ควรเรียนรู้และเข้าใจปัญหาในแต่ละพื้นที่ เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนา โดยเป็นผู้ริเริ่มให้มีแนวคิดที่ง่าย มีการนิเทศการศึกษาทั้งเต็มรูปแบบ และผ่านระบบเทคโนโลยีดิจิทัล โดยการลงสู่พื้นที่โรงเรียนเพื่อชี้แนะ ช่วยเหลืองานด้านการศึกษาได้อย่างตรงเป้าหมาย และควรเปิดโอกาสให้ผู้บริหารและครูผู้สอนได้ประเมินผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ อันนำไปสู่ความเข้าใจด้านบริบทแต่ละโรงเรียน ทั้งนี้ให้ศึกษานิเทศก์ช่วยเหลือในการบริหารและจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 และมีการสื่อสารเชิงบวก ใช้เทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารทั้งด้านการนิเทศ ตลอดจนจัดให้มีการอบรม สัมมนา ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความรู้มากขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือในการทำงานเพื่อสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำผลการประสานงานในกิจกรรมที่ผ่านมาใช้เป็นบทเรียนการทำงานและแก้ไขพัฒนาการศึกษาต่อไป

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

ณัฐกิตติ์ สวัสดิ์ไธสง , มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

Ubon Ratchathani Rajabhat University

พงษ์ธร สิงห์พันธ์, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี

Ubon Ratchathani Rajabhat University

References

กรรณิการ์ ปานนุช. (2561). การพัฒนาโปรแกรมประเมินความเป็นผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์แบบออนไลน์. วารสารการประชุมวิชาการเสนองานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 27.

จิรชญา อินทะจักร. (2559). ความคาดหวังของครูและผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการปฏิบัติงานและคุณลักษณะของศึกษานิเทศก์ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 9(20), 49-50.

ดาราณีย์ พยัคฆ์กุล และวีระศักดิ์ ชมพูคำ. (2559). การพัฒนาสมรรถนะการนิเทศการศึกษาสู่ความเป็นศึกษานิเทศก์มืออาชีพ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อิสเทอร์น, 10(4), 161.

ทิพย์วรรณ์ กุลนิตย์. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีรยุทธ อุทธา. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับการแต่งตั้งโดยการประเมินกำหนดตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนตามเกณฑ์คุณภาพในจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ประภาพันธ์ เจริญกิตติ. (2556). พฤติกรรมความเป็นผู้นำในงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรีชา นิพนธ์พิทยา. (2557). พฤติกรรมผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สานปฏิรูป.

“พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546,”. (2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนพิเศษ 221 ง. หน้า 40-41. 8 กันยายน 2560.

เพียรพันธ์ กิจพาณิชเจริญ. (2552). ศึกษาสมรรถนะการบริหารวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตหนองแขม กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”. (2560). ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560, หน้า 1-90.

วันเผด็จ มีชัย. (2554). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิจารณ์ พานิช. (2558). วิถีการสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.

สมชาย พวงโต และพิณสุดา สิริธรังสี. (2560). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ฯ, 4(2), 22-23.

สมชาย สุภาคาร. (2553). การปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุชิน ประสานพันธ์. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(2), 15-16.

อมรัตน์ สาริย์มา. (2556). พฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.