องค์กรแห่งความสุข (Happiness Workplace) ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

##plugins.themes.bootstrap3.article.main##

สิทธิเดช เสมอภักดิ์
ศิริพงษ์ เศาภายน

摘要

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์กรแห่งความสุข (Happiness Workplace) ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2  และ 2) เพื่อเปรียบเทียบองค์กรแห่งความสุข (Happiness Workplace) ตามทัศนะของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน วิทยฐานะ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2  ปีการศึกษา 2565 จำนวน 357 คน กำหนดกลุ่มขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การกำหนดตัวอย่างวิจัยตามโควตา (Quota Sampling) จากนั้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนของ (Multi stage Sampling) โดยการแบ่งจากการสุ่มแบบชั้นภูมิตามสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่าย


(Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามความคิดเห็นตามทัศนะของครูที่มีต่อองค์กรแห่งความสุข (Happiness Workplace) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .0934 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเป็นรายคู่ด้วยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe’s Multiple Comparison Method) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาระดับองค์กรแห่งความสุข (Happiness Workplace) ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก  2) ผลการเปรียบเทียบระดับองค์กรแห่งความสุข (Happiness Workplace) ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบว่า ข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งความสุข โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นด้านมีสังคมดีและด้านความสมานฉันท์ในองค์กรไม่แตกต่างกันและข้าราชการครูที่ปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่มีประสบการณ์การทำงาน วิทยฐานะ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกัน

##plugins.themes.bootstrap3.article.details##

栏目
Research Articles
##submission.authorBiography##

##submission.authorWithAffiliation##

ศึกษาศาสตร์

参考

กระทรวงสาธารณะสุข กรมสุขภาพจิต (2564).ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30866.(วันที่สืบค้นข้อมูล : 27 ธันวาคม 2565)

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และธีรธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว (2560).องค์กรแห่งความสุข 4.0. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://happy8workplace.thaihealth.or.th/books-videos/books/19. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 22 ธันวาคม 2565)

ชญานิศ รัตนปรีชาชัย (2563).ปัจจัยที่มีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงสถานการณ์โควิด-19.วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง,2 ,3 (2562).

ณัฐพงษ์ น้อยโคตร (2565).แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์,6,1 (มกราคม-มิถุนายน 2565).

พันชัย เม่นฉาย และคณะ (2563).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต,16,2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2563)

พิมพ์ณดา เลิศปกรณ์ธีรทัต (2561). ทัศนคติที่มีต่อการทำงานร่วมกับคนต่างวัยของประชากรที่มีงานทำในเขตกรุงเทพมหานคร.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttps://mmm.ru.

ac.th/MMM/IS/twin-7/6114152039.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 22 ธันวาคม 2565).

นริศรา ประศาสตร์ศิลป (2565).การเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1. Journal of Modern Learning Development,7,5 (มิถุนายน 2565).

สธนา สำนักวังชัย (2563).การศึกษารูปแบบองค์กรแห่งความสุขภาครัฐกรณีศึกษา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 1.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-510_1600054593.pdf.

(วันที่สืบค้นข้อมูล: 22 ธันวาคม 2565).

สุบัณฑิต จันทร์สว่าง (2562) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์,8,2 (เมษายน - มิถุนายน 2562)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) (กรุงเทพฯ:สำนักนายกรัฐมนตรี,2560),1-6.

ศศิประภา หุ่นสะดี (2565).ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายโรงเรียนที่ 72 สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล,8,2(กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)