ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์

Main Article Content

เก็จกัญญา จิตเสน
ศุภธนกฤษ ยอดสละ
ทรงเดช สอนใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์  2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 350 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ของ Likert Scale หาคุณภาพเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เพื่อตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา นำแบบสอบถามไปทดลองใช้ (Try out) กับผู้บริหารและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน และนำแบบสอบถามไปหาค่าความเชื่อมั่น (Reliability) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Alpha coefficient) ของแบบสอบถามทั้งฉบับตามวิธีของ Cronbach ได้ค่า 0.97 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNI โดยวิธี Modified priority needs index (PNI modified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด


2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษาเรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้แก่ (1) การสร้างทีมงาน (2) การสร้างเครือข่าย (3) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ (4) วิสัยทัศน์ และ (5) ความฉลาดทางอารมณ์

Article Details

บท
Research Articles
Author Biographies

เก็จกัญญา จิตเสน , มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ครุศาสตร์

ศุภธนกฤษ ยอดสละ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ครุศาสตร์

ทรงเดช สอนใจ, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ครุศาสตร์

References

กาญจนา ช้างเยาว์. (2561). การทำงานเป็นทีมของข้าราชการครูในโรงเรียนระยอง วิทยาคม

อำเภอเมือง จังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.

เตือนใจ สุนุกุล. (2562). ภาวะผู้นําเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ทิพมาศ เศวตวรโชติ. (2559). ตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำแบบบูรณาการสำหรับผู้บริหารโรงเรียน

มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย:

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยการประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นารี น้อยจินดา. (พฤศจิกายน 2558 – เมษายน 2559). “การพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการ

สำหรับผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตกรุงเทพมหานคร”. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 10(2) : 69-80.

นิภาพร นาราช. (2558). การสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียนในจังหวัดนครนายก สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2547). ภาวะผู้นำและผู้นำเชิงกลยุทธ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เซ็นทรัลเอ็กเพรส.

ปทุมพร เปียถนอม. (2554). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการสำหรับผู้บริหาร

สถาบันอุดมศึกษาเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์รภัส ประสีระเตสัง. (มกราคม - มิถุนายน, 2562). “องค์ประกอบและตัวบ่งชี้การบริหาร เชิงบูรณาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษาภาคกลาง”. วารสารบริหารการศึกษา มศว. 16(30): 1-13.

ยาเบ็น เรืองจรูญศรี (2552). การบริหารเชิงบูรณาการ (CEO). สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงได้จาก www.kroobannok.com

รสสุคนธ์ หนูงาม (2559: 119-120). ภาวะผู้นำแบบบูรณาการของผู้บริหารกับการปฏิบัติงาน

วิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 10. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

รสสุคนธ์ หนูงาม. (ตุลาคม-ธันวาคม, 2561). “ภาวะผู้นำแบบบูรณาการของผู้บริหารกับการ

ปฏิบัติงานวิชาการของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10”. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร. 9 (2): 219-239.

รักจุฬา ตังตระกูล (2556). การสร้างภาวะผู้นำอย่างมีคุณค่า. สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2557. เข้าถึงได้จาก www.intrans.co.th

ศักดา แจ่มแจ้ง. (2561). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงบูรณาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานระดับปฐมวัยสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย. วารสารวิชาการ

มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 8(3) : 93-113.

อนันท์ งามสะอาด. (2553). กระบวนการจดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนอาชีวศึกษา.

เข้าถึงได้จาก : http://sisatblog.wordpress.com/2010/08/07/rr/. สืบค้น 16

มกราคม 2559.

Kettunen, Juha. (2015). Integrated Management Approaches in Higher Education.

US-China Education Review. 5 (11) : 707-717.

Lussier, Robert N. and Achua, Christopher F. (2001). Leadership: Theory,

Application, Skill Development. Ohio: South-Western College.