ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกพัน ในองค์กรของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับความผูกพันในองค์กรของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของข้าราชการครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับความผูกต่อองค์กรของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ คือครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานนทบุรี จำนวน 171 คน โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จของ Krejcie & Morgan (1970) โดยการสุ่มจำนวนครูตามสัดส่วน (Proportional Allocation) ของประชากรในโรงเรียน เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างตามกำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยในครั้งนี้คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.67 - 1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.854 และค่าความเชื่อมั่นของความผูกพันในองค์กรของครู เท่ากับ 0.826 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นให้เกิดปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล และลำดับสุดท้ายด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์ ตามลำดับ 2) ระดับความผูกพันในองค์กรของครู โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ ด้านความปรารถนาในการดำรงความเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กร ด้านความเชื่อ การยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร และด้านความเต็มใจเพื่อจะทุ่มเท ส่งเสริมและสนับสนุนองค์กร ตามลำดับ 3) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาด้านการมีอิทธิพลเชิงอุดมการณ์มีความสัมพันธ์กับความผูกพันในองค์กร ด้านความเชื่อการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) = 0.904
Article Details
References
แคทลียา ศรีใส. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับการสร้างทีมงานของผู้บริหารโรงเรียน
เอกชนสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
งานบุคลากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). จำนวนบุคลากรผู้บริหารและข้าราชการครู
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. สืบค้น 10 เมษายน 2566
จาก http:/www.spmnonthaburi.go.th
ณิชานันท์ ศิริกุลสถิตย์. (2562). ความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2555). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริม.
เพ็ญศรี พิทักษ์ธรรม มัชฌิมาภิโร. (2549). ภาวะความเป็นผู้นำของผู้บริหารการศึกษาต่อประสิทธิผลในกระบวนการ
บริหารการศึกษา : กรณีศึกษาสถาบันอุดมศึกษาของรัฐจังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐ
ประศาสนศาสตร์แห่งชาติ ครั้งที่ 7 (พ.ศ. 2549).
พนัส หันนาคินทร์. (2526). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก.
พรชัย ภาพันธ์. (2547). “เมื่อโรงเรียนเป็นนิติบุคคล ทุกคนต้องพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง”,วารสารวิชาการ. 1 (มกราคม-
มีนาคม 2547), 44.
สถาพร ปิ่นเจริญ. (2556). ภาวะผู้นำกับการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักส์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพฯ :
รุ่งเรืองสาสน์การพิมพ์.
สมุทร ชำนาญ. (2554). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และปฏิบัติ. ระยอง : พี.เอส.การพิมพ์.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : บุคส์ลิงค์
อนุดิษฐ์ ฐานไชยกร. (2562). ความผูกพันในองค์การ. Journal of Roi Kaensarn Academic, 4(1), 32-46.
Bass, B.M. (1985). Leadership and performance beyond expectations. New York : The Free Press.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size of research activities. Education and
Psychological Measurement, 30(3), 608.
Mowday, R. T., Steers, R. M., & Porter, L. W. (1979). The measurement of organizational commitment.
Journal of Vocational Behavior, 14, 224-247.
Mowday, R. T., Porter, L. W., & Steers, R. M. (1982). Employee-organization linkages. New York : Academics
Press.
Steers, R., & Porter, L. R. (1983). Motivation and work behavior. New York : McGraw-Hill Book.