การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียน ของสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

สริญญา มารศรี
นิรัช เรืองแสน
วิทยา ทองดี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียนของสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่น (2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียนของสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่น (3)เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น (4) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนา (R&D) กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 222 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม และคู่มือหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียนของสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยสุด คือ ด้านระบบบริหารจัดการรายวิชา แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียนของสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่น ควรใช้กลยุทธ์การสอนแบบการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการต่างๆ และระหว่างการเรียนการสอนออนไลน์ต้องตั้งกฎกติกาอย่างชัดเจน รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียนของสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่นมีองค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา (4) กระบวนการจัดการเรียนการสอน แบบ MRIAP Model (5) การวัดผลและประเมินผล และ (6) ระบบการบริหารจัดการศึกษาออนไลน์ คะแนนเฉลี่ยการทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของกลุ่มเป้าหมายสูงกว่าก่อนเรียนโดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ความพึงพอใจของกลุ่มเป้าหมายต่อการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากทุกด้าน ความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียนของสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่น โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์รายวิชาภาษาอาเซียนสถาบันภาษาวิทยาเขตขอนแก่นโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านผลกระทบ

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงสาธารณะสุข.(2563). ข้อมูลถามตอบเกี่ยวกับโควิด19. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 16

ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/

faq_more.php

กลุ่มสารสนเทศต่างประเทศ สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

(2564). ปฏิญญาอาเซียน. [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 16 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก :

https://bic.moe.go.th/index.php/2021-08-19-21-31-29/2374-asean-

declaration-17-9-2564

กองวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ

เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ [ออนไลน์]. วันที่ค้นข้อมูล 16

ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จากhttp://mcuaad.mcu.ac.th/ac/discipline/pdf/

c76cc3a2809a7704c819bdd7041aa3.pdf

พระครูบรรพตภาวนาวิธาน และคณะ. (2565). การสร้างเสริมทักษะภาษาอาเซียนของนิสิต

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา. วารสารมหาจุฬา

นาครทรรศน์. 9(2). 228-240.

ยุวดี จิตโกศล. (2559). การเตรียมความพรอมดานภาษาอาเซียนในระดับอุดมศึกษาเพื่อรองรับ

การเปดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปศาสตร

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.12(1). 167-199.

รัตนะ บัวสนธ์. (2562). วิจัยและพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารศิลปากร

ศึกษาศาสตร์วิจัย. 1(2). 1-11.

ศิริลักษณ์ เพ็งแพง. (2560). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการใฝ่รู้ใฝ่เรียนของ

นักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่ 2 โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้ด้วยตนเอง ร่วมกับ

วิธีการสอนแบบ MIAP. รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยเทคโนโลยีปัญญา

ภิวัฒน์.

สริญญา มารศรี. (2564). วิธีสอนทางเลือกของครูสังคมศึกษาในยุคสถานการณ์โควิด 19.

วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขต

อุบลราชธานี. 6(2). 765-778.

สุชาติ ศิริสุขไพบูลย์. (2527). ทฤษฎีการเรียนรู้กระบวนแบบ MIAP เป็นกระบวนการที่ผู้สอน

จัดประสบการณ์เรียนรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งประเทศไทย.

อัญญารัตน์ นาเมือง. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ในการสอนภาษาพม่าเพื่อพัฒนา

ทักษะการสื่อสารสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. Princess of Naradhiwas

University Journal of Humanities and Social Sciences, 4(1), 54–66.