การประเมินหลักสูตรระดับประถมศึกษาของโรงเรียนบ้านปรางหมู่ (ศรีวิทย์ศึกษา) อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model

Main Article Content

อมรเทพ บุญกลาง
ประภาศ ปานเจี้ยง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินหลักสูตรระดับประถมศึกษาของโรงเรียนบ้านปรางหมู่ (ศรีวิทย์ศึกษา) อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST Model คือ ด้านบริบท (Context: C) ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs: I) ด้านกระบวนการ (Process: P) ด้านผลผลิต (Products: P) ด้านผลกระทบ (Impact: I) ด้านประสิทธิผล (Effectiveness: E) ด้านความยั่งยืน (Sustainability: S) และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability: T) พื้นที่วิจัยคือ โรงเรียนบ้านปรางหมู่(ศรีวิทย์ศึกษา) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 คน กรรมการสถานศึกษา 10 คน ครู 10 คน ครูผู้สอนศิษย์เก่า 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาที่ 1-6 93 คน ผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 77 คน ศิษย์เก่า 5 คน รวมทั้งหมด 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามซึ่งแบ่งตามผู้ประเมิน ได้หาค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 คนได้ตรวจสอบ หาความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยการนำไปทดลองใช้ 30 ชุด แล้วหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่า ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.91 ซึ่งอยู่ในระดับดีมาก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ด้านบริบท (Context: C) มีความเหมาะสมระดับมาก โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหาตรงตามจุดมุ่งหมาย 2) ผลการวิเคราะห์ด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs: I) ในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก อุปกรณ์ อาคารสถานที่ เอื้อต่อการเรียนการสอน 3) ผลการวิเคราะห์ด้านกระบวนการ (Process: P) ในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก เช่น การจัดการเรียนการสอน การบริหารหลักสูตร 4) ผลการวิเคราะห์ด้านผลผลิต (Products: P) ในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก เช่น ผู้เรียนมีคุณสมบัติตรงตามจุดมุ่งหมาย 5) ผลการวิเคราะห์ด้านผลกระทบ (Impact: I) ในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก เช่น ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนภายหลังการจบการศึกษา 6) ผลการวิเคราะห์ด้านประสิทธิผล (Effectiveness: E) ในภาพรวมอยู่มีความเหมาะสมระดับมาก ได้แก่ ความมั่นใจในในองค์ความรู้ที่มี 7) ผลการวิเคราะห์ด้านความยั่งยืน (Sustainability: S) ในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก ได้แก่ ความรู้ของผู้เรียนไปใช้ในการเรียนต่อ 8) ผลการวิเคราะห์ด้านการถ่ายทอดส่งต่อ (Transportability: T) ในภาพรวมมีความเหมาะสมระดับมาก ได้แก่ ผู้เรียนถ่ายทอดความรู้ไปสู่ผู้อื่น

Article Details

บท
Research Articles

References

ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล, สมจิตรา เรืองศรี, กิตติศักดิ์ ลักษณา และ พรภิรมย์ หลงทรัพย์. (2560). การประเมินหลักสูตรแนวใหม่: รูปแบบ CIPPIEST. 2564, จากhttps://he01.tci-

thaijo.org/index.php/policenuurse/article/download/107970/85725/276047

รัตนะ บัวสนธ์. (2556). รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPIEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและ

ถูกต้องในการใช้ CIPP and CIPIEST Evaluation Models: Mistaken and Precise Concepts of Applications. https://so05.tcithaijo.org/index.php/article/download/257105/173483/

วัน เดชพิชัย. (2535). คู่มือการวิจัยและการประเมินโครงการทางการศึกษาพฤติกรรมศาสตร์. ปัตตานี: มนตรีบริการ.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2549). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและการพัฒนาหลักสูตร. คณะ ศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Kanjanawasee, S. (2015). CIPP model for change: Meaning, importance, and development. Social Science Research Association of Thailand Journal.

Nillapun, M., Chatiwat, W., Torat, S., Thammetra, T., & Vanichwatanavorachai, S.

(2011). The curriculum evaluation on doctor of philosophy program in curriculum and instruction, faculty of education Silpakorn University. Nakhon Pathom: Silpakorn University.

Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation: Theory, models and applications. John Wiley and Son, Ine.