การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Main Article Content

จีรญา จินกระวี
เกศริน มนูญผล
ทิพมาศ เศวตวรโชติ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.)ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครู 2.)ร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของครู และ3.)ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครู จำนวน 302 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.96  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 ร่างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของครู โดยการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของครู โดยผู้เชี่ยวชาญได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ใช้สถิติความถี่และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนของครู พบว่า โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้และด้านการวัดการประเมินผล 2) รูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของครู มี 4 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบที่ 1 การจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning องค์ประกอบที่ 2 การส่งเสริมสนับสนุนการจัดการเรียนรู้และการใช้สื่อแหล่งเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 3 การสร้างบรรยากาศเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่ 4 การวัดผลและประเมินผล 3) ผลประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ Active learning ของครู พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าร้อยละ 93.83

Article Details

บท
Research Articles

References

มานิตย์ จันสุทธิรางกูร. (2563). หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. บริษัท อิมเมจิเนียริ่ง เอ็ดดูเคชั่น จำกัด.

มานพ จิตแม้น. (2563). การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning โรงเรียนเทศบาลท่าตูม อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารและนิเทศการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 11(1).

วิทวัส ดวงภุมเมศ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2560). การจัดการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการ เรียนรู้อย่างกระตือรือร้น. มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราช ภัฏพิบูลสงคราม, 11(2), 1 – 14

ศันสนีย์ จันทร์ธีระโรจน์. (2564). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ACTIVE LEARNING โดยใช้ รูปแบบการสอนแบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PROJECT - BASED LEARNING) รายวิชาวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการเรียนรู้และ นวัตกรรม. รายงานการใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน. โรงเรียนพุทธิโศภน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

หทัยรัตน์ อิทธเบญญาภา. (2564). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้วิธีการสอนแบบการเรียน แบบ Active Learning (Active Learning) PEAUPACE Model เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. สำนักงานเว็บไซต์ครูบ้านนอกดอทคอม. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 14 มกราคม 2566 https://www.kroobannok.com/board_ view.php?b_id=184891&bcat_id=16.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report, Washington DC: School of Education and Human Development, George Washington University.

Cronbach, Lee Joseph. (1990). Essentials of Psychological Testing. New York : Harper and Row.

Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill.

Salemi, M. K. (2002). An Illustrated Case for Active Learning. Southern Ecomomic Journal, 68(3), 721-731.