แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารพัฒนาลาวภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัท เจริญเชกองพลังงาน (CSE)

Main Article Content

มะหานะคอน สะหงวนวง
มาลิณี ศรีไมตรี
อัรยดา พรเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพัฒนาลาวภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) 2) เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพัฒนาลาวภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติงานในธนาคารพัฒนาลาวภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) กำหนดกลุ่มตัวอย่างตามตารางสำเร็จรูป Krejcie and Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 297 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .93 สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การทดสอบค่า t และการทดสอบค่า F ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพัฒนาลาวภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) ปัจจัยจูงใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความสำเร็จในการทำงาน รองลงมาคือ ด้านการได้รับการยอมรับนับถือ ด้านลักษณะของงานที่ปฏิบัติ ปัจจัยค้ำจุน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านสถานะของอาชีพ รองลงมาคือ ด้านโอกาสความก้าวหน้าในอนาคต ด้านความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพัฒนาลาวภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ งานที่ปฏิบัติมีความน่าเชื่อถือสูง รองลงมาคือ งานที่ปฏิบัติคุ้มค่าและมีประโยชน์สูงสุด และงานที่ปฏิบัติมีภาระงานที่เพียงพอ ตามลำดับ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ เพื่อพยากรณ์ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพัฒนาลาว ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) มีเพียง 4 ตัวแปรที่ส่งผล ได้แก่ ด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านสถานะของอาชีพ ด้านสภาพการทำงาน และด้านชีวิตส่วนตัว สามารถร่วมกันทำนาย ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพัฒนาลาว ภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) ได้ร้อยละ 74.10 (Adj R 2 = .741) เมื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพัฒนาลาวภายใต้การบริหารงานของกลุ่มบริษัทเจริญเชกองพลังงาน (CSE) จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าพนักงานที่มีสถานภาพ พนักงานธนาคารพัฒนาลาวมีความคิดเห็นภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านความสำเร็จในการทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน ระดับการศึกษา ด้านสถานะของอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน และค่าตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือน ภาพรวมแตกต่างกันและด้านความสำเร็จในการทำงาน ด้านสถานะของอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้านอื่นๆ ไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Research Articles

References

ฐิติรัตน์ ชะเอม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรในสังกัดสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

ทองใบ สุดชารี. (2551). การวิจัยธุรกิจ. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย. (2564). รู้จักธนาคารรัฐใน สสป.ลาว. (ออนไลน์) (อ้างเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2565) จาก https://www.exim.go.th/eximinter/e-news/7309/enews_july2018_currency.html

ดุษฎี อิศราพฤกษ์. (2560). เจนเนอเรชั่นและแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน (บริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดปทุมธานี. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.

พัลลภ จิระโร (2563). “แรงจูงใจในการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดชุมพร”. วารสารการวัดและประเมินผล สถิติ และการการวิจัยทางสังคมศาสตร์. 1(2) (กรกฎาคม-ธันวาคม 2563): 33-44.

เพทาย ทรัพย์กะสินธุ์. (2563). แรงจูงใจมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ต่างประเทศสายธุรกิจนำเข้าและส่งออกของธนาคารแห่งหนึ่ง. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

นวมลลิ์ สิทธิภูมิ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายสินเชื่อธนาคาร ABC. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชระ แย้มชู. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก,

อรุณวรรณ กุลนิล. (2558). ปัจจัยจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของพนักงานธนาคารกรุงเทพในเขตกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ.