ทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ 2) เปรียบเทียบทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานและขนาดของสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟและการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 32 คน และครูจำนวน 290 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 322 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน และ 3) แนวทางในการพัฒนาทักษะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 พบว่า ด้านมนุษยสัมพันธ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรเป็นแบบอย่างที่ดี มีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านความคิดสร้างสรรค์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำแนวคิดใหม่ ๆมาใช้ในการบริหารงาน พัฒนาบุคลากรและใช้เทคโนโลยีมาช่วยบริหารงาน ด้านเทคนิควิธี ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการคิดเชิงกลยุทธ เรียนรู้เทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ๆ ปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบท ด้านการสื่อสาร ผู้บริหารสถานศึกษาควรสื่อสารให้ชัดเจน รวดเร็ว ตรงประเด็น
Article Details
References
กรรณิกา เรดมอนด์. (2559). ตัวบ่งชี้ทักษะภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ 2560-2579 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
ไกรศร เจียมทอง. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2560). แผนการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา.คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา.
บุณยวรีย์ เศวตวงศ์สกุล. (2557). ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พรทิพย์ มงคลเสถียร. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พิมลพรรณ เพชรสมบัติ. (2560). ทักษะการบริหารของผู้บริหารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลธัญบุรี.
แพรดาว สนองผัน. (2557). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
มณฑาทิพย์ นามนุ. (2561). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมธานี เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
รชฏ ทนวัฒนา. (2560). ทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูใน โรงเรียนเขตบึงกุ่ม สังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ : ตถาตา พับลิเคชั่น.
ศศิตา เพลินจิต. (2558). ทักษะการบริหารในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี.
สาริศา พรแก้ว. (2563). ทรรศนะของครูที่มีต่อทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏ
ศรีสะเกษ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3. (2563). แผนพัฒนาการศึกษา 4 ปี.สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนพัฒนาเศรษกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (2566-2570). สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุจิรา กาญจนสาโรช. (2547). ความต้องการในการพัฒนาทักษะการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสมุทรสาคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุภาพร เหล่าทรัพย์เจริญ, (2556). ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับความเป็นองค์การนวัตกรรม ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 2. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุริยา ทองยัง. (2558). ทักษะของผู้บริหารโรงเรียนวัดตะล่อม สังกัดกรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Richy W. Griffin. (2013). Management Principles And Practices. 11th. Ed. Mason: South-Western Cengage Learning.
Sergiovanni, T.J. (1994). Building community in schools.San Francisco. CA Jossey Bass.
Thelbert L. Drake and William H. Roe. (2003). The Principalship. 6 th ed. New Yoke: Macmillan.
Wiles, K. l. (1967). Supervision for better schools. New Jersey: Prentice-Hall.