การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1

Main Article Content

อับดลบาซิตร์ มูเก็ม
กนกกร ศิริสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1 2) เปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1 จำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) รวบรวมข้อเสนอแนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานีเขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 จำนวน 313 คน จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษาและสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 40 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างแบบ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1   โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงานและขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารงานงบประมาณ ครูมีความคิดเห็นต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1 ที่ให้ข้อเสนอแนะ ในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารทั่วไป ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

แห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566-2570 (ฉบับปรับปรุงตามผลการรับฟังความเห็นจากประชาชน). สำนักนายกรัฐมนตรี.

จินตนา จุงใจ. (2560). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารการศึกษา

โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา

เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 1. (2565).ข้อมูลจํานวนข้าราชการครู

โรงเรียนในสังกัด สพป.ปัตตานี เขต 1. ปัตตานี :ฝ่ายบริหารงานบุคคล สพป.ปัตตานี เขต 1.

พราสันต์ การดี. (2554). การศึกษาปัญหาการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศในการบริหารการศึกษา

ของโรงเรียนขยายโอกาส เครือข่ายอำเภอขนอม สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษา

ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

สมจิตร ขวัญแดง. (2560). สภาพปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหาร

สถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

หาดใหญ่.

ปิยนุช บัวชุม. (2561). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏสุราษฎรธานี.

กวินตรา ซ้วนลิ่ม. (2560). ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาโรงเรียน

ขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 1. บัณฑิต วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ฤทัยรัตน์ ทุมรัตน์, อโนทัย ประสานและปรีชา สามัคคี. (2563). “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

เพื่อการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

นครศรีธรรมราช เขต 2.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 17(77),

-112.

ฉวีวรรณ หอมรักษ์. (2557). สภาพและปัญหาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารโรงเรียน

ขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี

เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฏร์ธานี.

ทิพวัลย์ นนทเภท. (2557). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษาในสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.