การพัฒนาสมรรถนะความคิดขั้นสูงโดยใช้การจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Main Article Content

นนท์วิศิษฐ์ ทองอนันต์
อาทร นกแก้ว

บทคัดย่อ

งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเชิงวิพากษ์ และเพื่อพัฒนาสมรรถนะความคิดขั้นสูงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สมรรถนะการคิดขั้นสูงในการศึกษานี้ประกอบด้วยการคิดอย่างมีวิจารณญาณและด้านสมรรถนะการคิดแก้ปัญหา กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 17 คน จากโรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สะเต็มเชิงวิพากษ์ จำนวน 3 แผน แบบทดสอบวัดสมรรถนะการคิดขั้นสูง กล้องบันทึกวิดีโอการจัดการเรียนรู้โดยข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาและวิเคราะห์แบบแยกประเด็น และ แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมคิดขั้นสูงของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า แนวทางในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แบ่งออกเป็นขั้นการเตรียมความพร้อมก่อนการจัดการเรียนรู้ครูจะต้องศึกษาสภาพปัญหาของผู้เรียนทั้งจากท้องถิ่น สังคม หรือสถานศึกษาอย่างละเอียดแล้วพิจารณาปัญหาที่ผู้เรียนสามารถหาวิธีแก้ไข หาช่องทางหรือวิธีการที่จะให้นักเรียนได้นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาของนักเรียนเพื่อให้ผู้ที่มีอำนาจรับผิดชอบได้รับรู้และนำไปใช้แก้ปัญหาจริง ขั้นก่อนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษาเชิงวิพากษ์ครูควรปรับพื้นฐานของนักเรียนให้มีลักษณะนิสัยรู้จักตั้งคำถามในข้อสงสัย การโต้แย้งโดยคำนึงถึงหลักความเป็นเหตุเป็นผลและไม่ตัดสินด้วยอารมณ์และความคิดเห็นส่วนตัวและในขั้นการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเชิงวิพากษ์ครูควรทำหน้าที่ในการตีกรอบประเด็นปัญหาโดยให้ข้อเสนอแนะโดยไม่ชี้นำแก่ผู้เรียน ผลการพัฒนาสมรรถนะความคิดขั้นสูงจากการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การทำแบบทดสอบหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีระดับสรรถนะการคิดขั้นสูงอยู่ในระดับสูง 13 คน คิดเป็น 76.47 % ระดับกลาง 4 คน คิดเป็น 22.53 % ซึ่งสอดคล้องกับพัฒนาการของนักเรียนในระหว่างวงจรปฏิบัติการ 3 วงจรปฏิบัติ ซึ่งนักเรียนมีระดับสมรรถนะการคิดขั้นสูงเพิ่มขึ้นตามลำดับแสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษาเชิงวิพากษ์เรื่องการนำเสนอข้อมูลของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 นั้นมีผลในการพัฒนาสมรรถนะการคิดขั้นสูงทั้งด้านสมรรถนะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและด้านสมรรถนะการคิดแก้ปัญหา

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลพร กิตติชัย. (2021). การพัฒนาการคิดขั้นสูง : ความสามารถทางสติปัญญาที่สำคัญในโลกยุค

New Normal. 19(2). น. 28 – 44.

ซีส๊ะ บิลโหด. (2022). แนวทางการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดหลักสูตรฐานสมรรถนะเพื่อพัฒนา ทักษะด้านการคิดขั้นสูงของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 9(3), น. 240 – 256.

ฐิติวรดา พลเยี่ยม. (2561). สะเต็มศึกษา: ความเข้าใจเบื้องต้นสู่ห้องเรียนบูรณาการ. กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2561). การศึกษาพหุวัฒนธรรมมุมมองเชิงวิพากษ์และการปฎิบัติการณ์ในโรงเรียน. เชียงใหม่: หจก.วนิดาการพิมพ์

ไพฑูรย์ สินลารัตน์และนักรบ หมี้แสน. (2560). ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. กรุงเทพฯ:แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์.(2555). การวิเคราะห์การศึกษาเชิงวิพากษ์:พื้นฐานการศึกษาด้านประเด็นวิกฤตทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมไทยสัมพันธ์

รุ่งทิวา กองสอน (2561). การเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาด้วยรูปแบบการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมร่วมกับการใช้ปัญหาเป็นฐานสำหรับนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัยด้านสิ่งแวดล้อม. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(2), น. 163 – 178

ศิวรักษ์ ศิวารมย์. (2551). สังคมศาสตร์การศึกษา. สังคมศาสตร์การศึกษา. กรุงเทพฯ. สร้างสรรค์.

แสงเดือน ทวีสิน. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ : ไทยเส็ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564).แนวคิดพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://cbethailand.com/หลักสูตร2/แนวคิดพื้นฐานของการพัฒ/ ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). สมรรถนะ การคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking : HOT) . [ออนไลน์], เข้าถึงได้จากhttps://cbethailand.com/หลักสูตร/หลักสูตรฐานสมรรถนะ/สมรรถนะหลัก-5-ประการ/สมรรถนะการคิดขั้นสูง/ ค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2565

อลิศรา เพชระ (2560). รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงวิพากษ์จากเพลงกล่อมเด็กภาคใต้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18(1), น. 214 – 226

อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์ . (2554). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมค่ายเพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา.วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 5(2), น. 84-94.

ออมสิน จตุพร. (2019). บทวิจารณ์หนังสือ Giroux, H.A. (2013). On Critical Pedagogy. New York and London: Bloomsbury Academic. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์์, 19(1), 196 – 210

Fotou & Constantinou. (2020). The pandemic’s precipitate: reconsidering biology and health literacy, School Science Review, 102(378), 13-15.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (2000). Participatory action research. In N. Denzin & Y. Lincoln (Eds.), Handbook of qualitative research (2nd Ed., pp. 567–605). Thousand Oaks CA: Sage.

Lisa Steffensen. (2021). Critical mathematics education and climate change A teaching and research partnership in lower-secondary school. Thesis for the degree Philosophiae Doctor (PhD), Haugesund, Western Norway University of Applied Sciences

Martin Braund. (2021). Critical STEM Literacy and the COVID-19 Pandemic. Canadian Journal of Science, Mathematics and Technology Education, 21, 339 – 356

Solomon, J. (1993). Teaching science, technology and socie. Buckingham: Open University Press.