เนื้อหาการประทุษวาจาของพระโพธิสัตว์กับการบำเพ็ญบารมี สู่การหลุดพ้นในอรรถกถาแปล ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย

Main Article Content

ธีระวุฒิ แง่ธรรม
สมบัติ สมศรีพลอย
อัควิทย์ เรืองรอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาการประทุษวาจาที่เกี่ยวข้องกับพระโพธิสัตว์ในอรรถกถาแปล ฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย และ 2) เพื่อวิเคราะห์การบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์จากการประทุษวาจาในอรรถกถาแปล ฉบับ มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้กรอบแนวคิดการประทุษวาจา (ระดับความรุนแรง) ของ Anthony Cortese โดยศึกษาอรรถกถาแปล พระสุตตันปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก ฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ภาค 1 เล่ม 1-7 และ ภาค 2 เล่ม 1-3 จำนวน 547 เรื่อง ปรากฏเนื้อหาการประทุษวาจา จำนวน 36 เรื่อง ผลการศึกษาพบว่า เนื้อหาการประทุษวาจาในอรรถกถาแปล สามารถวิเคราะห์ได้ 2 ประเด็น คือ 1) เนื้อหาการประทุษวาจาของพระโพธิสัตว์ต่อตัวละครอื่น ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ เนื้อหาการประทุษวาจาดูถูกว่าเป็นคนโง่, เนื้อหาการประทุษวาจาดูถูกว่าเป็นคนมีปัญญาทราม, เนื้อหาการประทุษวาจาในการคบชู้, เนื้อหาการประทุษวาจาในการพนัน และ 2) เนื้อหาการประทุษวาจาของตัวละครอื่นต่อพระโพธิสัตว์ประกอบด้วย 4 ลักษณะ ได้แก่ เนื้อหาการประทุษวาจาดูถูกว่าเป็นคนชั้นต่ำ, เนื้อหาการประทุษวาจาดูถูกว่าเป็นคนไม่มีพ่อ, เนื้อหาการประทุษวาจาในการเยาะเย้ย, เนื้อหาการประทุษวาจาในการพนัน ส่วนเนื้อหาการประทุษวาจาที่เกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เพื่อการหลุดพ้นตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต ปรากฏบารมี 3 ประการ ได้แก่ ขันติบารมี, ปัญญาบารมี,และเมตตาบารมี

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงสารณะสุข กรมสุขภาพจิต (2564).ทริคง่ายๆ จัดการความเครียดด้วยตัวเอง.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30866.(วันที่สืบค้นข้อมูล : 27 ธันวาคม 2565)

ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และธีรธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว (2560).องค์กรแห่งความสุข 4.0. [ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก https://happy8workplace.thaihealth.or.th/books-videos/books/19. (วันที่สืบค้นข้อมูล : 22 ธันวาคม 2565)

ชญานิศ รัตนปรีชาชัย (2563).ปัจจัยที่มีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลในช่วงสถานการณ์โควิด-19.วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคําแหง,2 ,3 (2562).

ณัฐพงษ์ น้อยโคตร (2565).แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2.วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์,6,1 (มกราคม-มิถุนายน 2565).

พันชัย เม่นฉาย และคณะ (2563).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยสวนดุสิต.วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต,16,2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2563)

พิมพ์ณดา เลิศปกรณ์ธีรทัต (2561). ทัศนคติที่มีต่อการทำงานร่วมกับคนต่างวัยของประชากรที่มีงานทำในเขตกรุงเทพมหานคร.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จากhttps://mmm.ru.

ac.th/MMM/IS/twin-7/6114152039.pdf. (วันที่สืบค้นข้อมูล: 22 ธันวาคม 2565).

นริศรา ประศาสตร์ศิลป (2565).การเปรียบเทียบการจัดการความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 1. Journal of Modern Learning Development,7,5 (มิถุนายน 2565).

สธนา สำนักวังชัย (2563).การศึกษารูปแบบองค์กรแห่งความสุขภาครัฐกรณีศึกษา : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรีเขต 1.[ออนไลน์].เข้าถึงได้จาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2562-510_1600054593.pdf.

(วันที่สืบค้นข้อมูล: 22 ธันวาคม 2565).

สุบัณฑิต จันทร์สว่าง (2562) การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมความสมานฉันท์ในการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์.วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์,8,2 (เมษายน - มิถุนายน 2562)

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560).แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (2560-2564) (กรุงเทพฯ:สำนักนายกรัฐมนตรี,2560),1-6.

ศศิประภา หุ่นสะดี (2565).ความคิดเห็นของครูต่อการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยี

สารสนเทศของผู้บริหารสถานศึกษาเครือข่ายโรงเรียนที่ 72 สำนักงานเขตบางขุนเทียน สังกัดกรุงเทพมหานคร.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล,8,2(กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)