แนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สุพิชชา ปานรัตน์
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์และเพื่อศึกษาหาแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการกระตุ้นการเรียนรู้ รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการสร้างโอกาสวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานครด้านการปรับวิสัยทัศน์สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ ด้านการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอย่างมืออาชีพ ด้านการประชาสัมพันธ์  ด้านการสร้างภาพลักษณ์ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและด้านการสื่อสารดิจิทัลและสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากโดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศอย่างมืออาชีพ รองลงมาตามลำดับคือ ด้านการกระตุ้นการเรียนรู้ ด้านการปรับวิสัยทัศน์สิ่งแวดล้อมและแหล่งเรียนรู้ ด้านการสร้างโอกาสวัฒนธรรมของกรุงเทพมหานคร ด้านการสื่อสารดิจิทัล ด้านการประชาสัมพันธ์ ด้านการสร้างภาพลักษณ์ และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่าสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) แนวทางในการส่งเสริม ควรใช้เทคโนโลยีและสื่อสังคมออนไลน์ในการให้ข้อมูลแก่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง พัฒนาความเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูอย่างมืออาชีพ สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน พัฒนาแหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียน ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือสื่อสังคมออนไลน์ในการสร้างภาพลักษณ์ หาแนวทางในการปรับปรุงทรัพยากรและการพัฒนาวิชาชีพในด้านดิจิทัล

Article Details

บท
Research Articles

References

จิติมา วรรณศรี. (2563). นวัตกรรมสู่การพัฒนาสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก: รัตน

สุวรรณการพิมพ์

เฉลิมพล วงศ์พระลับ. (2021). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของสถาน

ศึกษาในสังกัด อาชีวศึกษาจังหวัดขอนแก่น. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยตะวันออกเฉียงเหนือ

ทศพล สุวรรณราช. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7 (3), 160- 177.

ธร สุนทรายุทธ. (2551). การบริหารจัดการเชิงปฏิรูป : ทฤษฎี วิจัย และปฏิบัติทางการศึกษา.

กรุงเทพฯ : บริษัท เนติกุลการพิมพ์ จำกัด .

ประภวิษณุ์ เจียร์สุคนธ์. (2022). สภาพความต้องการจำเป็น และแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำ

ยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยนครพนม

รุจาภรณ์ ลักษณะดี. (2565). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาในสหวิทยาเขต บ้านบึง 1

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกริก

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ spss

ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3. กรุงเทพ: โรงพิมพ์เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

ศิริกาญจน์ ไกรบํารุง. (2559). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาครูผู้สอนโรงเรียนเสิงสาง

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 นครราชสีมา บัณฑิตวิทยาลัย : วิทยาลัยนครราชสีมา

วาลิกา รักยินดี และพิชญาภา ยืนยาว. (2562). รูปแบบการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล

สู่สถานศึกษาแห่งนวัตกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 11 (11-12 กรกฎาคม 2562 หน้า 1661-1670). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

สถาบันพัฒนาข้าราชการกรุงเทพมหานครดำเนินการจัดทำแผนการพัฒนาทักษะด้านดิจิทัล

ของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร. (2564). แผนพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลของข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร 2564. สืบค้น เมื่อ 3 กรกฎาคม 2565, จาก https://webportal.bangkok.go.th/upload/user/00000112/News/ Plan%202564/Digital%20plan%2023-7-64.pdf

สำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร. แผนปฏิบัติราชการสำนักงานเขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

ประจำปีพ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ 3 กรกฎาคม 2565 จากhttps://webportal.bangkok.go.th/public/user_files_editor/

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภวัช เชาวน์เกษม. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับ

ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล (School Management in

Digital Era). บทความออนไลน์สานพลังประชารัฐ. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2565 จาก http://www.pracharathschool.go.th/skil/detai/52232.