ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

วินนา พลชำนิ
สุกัญญา สุดารารัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีจำแนกตาม ระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจากโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 317 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .93 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test independent และการวิเคราะห์ค่าแปรปรวนทางเดียว  (One-way ANOVA) และทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ภาวะผู้นำแบบมุ่งทำงานให้สัมฤทธิ์ผล รองลงมาคือ ภาวะผู้นำแบบให้มีส่วนร่วม ภาวะผู้นำแบบสนับสนุน และภาวะผู้นำแบบสั่งการ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายตามความคิดเห็นของครู ภาพรวมและรายด้าน พบว่า ครูที่มีระดับการศึกษา ประสบการณ์ทำงานและขนาดโรงเรียนต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านภาวะผู้แบบสั่งการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 and .01

Article Details

บท
Research Articles

References

พรทิพย์ อันสีเมือง.(2565). ภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูกลุ่มสหวิทยาเขตเบญจสิริสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi ปีที่ 7 ฉบับที่ 6 ประจำเดือนมิถุนายน 2565 หน้า 312-328

ภาวิตา ฮั่นสกุล (2561). ความสัมพันธ์ของภาวะผู้นำตามทฤษฎีวิถีทาง – เป้าหมายกับการ บริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 จังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย

ภารดี อนันตนาวี. (2551). หลักการแนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี: บริษัท

สำนักพิมพ์มนตรี.

เรวดี ซ้อนเพชร. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับงานบริหารวิชาการโรงเรียน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรีเขต 4. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศิลปากร

วิโรจน์ สารรัตนะ. (2555). แนวคิด ทฤษฎี และประเด็นเพื่อการบริหารทางการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: ทิพย์วิสุทธิ์

วรุจ วรดล .(2563).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำวิถีทางเป้าหมายของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). ข้อมูลสารสนเทศ ปีการศึกษา2565. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2565, จาก www.spmnonthaburi.go.th/main/news/11658.html

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2564). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2565, จากwww.spmnonthaburi.go.th/main/news/11250.html

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.

House,R.J.,& Mitchell,R.R.(1974). Path-goal theory of leadership. Journal of

Contemporary Business, 3,81-97

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities.

Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Lussier, R.N. & Achua, C.F. (2010) “Leadership: Theory, Application, & Skill

Development” 4th edition, Cengage Learning

Marva L. Dixon and Laura Kozloski Hart .(2010). The Impact of Path-Goal

Leadership Styles on Work Group Effectiveness and Turnover Intention. Journal of Managerial Issues. Vol. 22, No. 1 (Spring 2010), pp. 52-69.

Northouse, P.G. (2016). Leadership: Theory and practice. 7th edition.

Thousand Oaks, CA: Sage Publishing, Inc.

Yukl. G. A. (2002). Leadership in Organizations. Upper Saddle River: Prentice Hall.