แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน ความคาดหวังที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็น และเสนอแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่างคือ ครู จำนวน 226 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คนโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการหาดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น (PNI modifide)ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาส ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความคาดหวังที่พึงประสงค์การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม มีค่าดัชนี (PNI modified= 0.211) 2) การพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 มีแนวทางการพัฒนา คือ การเพิ่มค่าตอบแทนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของครู ผู้บริหารควรมอบหมายงานให้ชัดเจนและเหมาะสม การทำงานภายใต้กฎ กติกา และระเบียบที่ได้รับทราบร่วมกัน การเปิดโอกาสให้ครูได้แสดงความคิดเห็นและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานที่ได้รับมอบหมาย กำหนดเกณฑ์การพิจารณาเลื่อนเงินเดือนและการประเมินการปฏิบัติงานให้ชัดเจน
Article Details
References
เกริกไกร แก้วล้วน และคณะ. (2564). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 5: การวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง, 440-449.
เขมินท์ อุ่นศิริ. (2560). คุณภาพชีวิตของบุคลากรในโรงเรียนราชินีบูรณะ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จินตนา อุ่มครุฑ. (2562). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในสหวิทยาเขตชาวดอย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
ฐิติพรรณ ธารทรัพย์ทวี. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูในกลุ่มโรงเรียนสหวิทยาเขตบ้านบึง 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
นภารัตน์ พิมพ์เดช. (2561). การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
พูนพงษ์ คูนา. (2561). คุณภาพชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อโรงเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลจันทบุรี., บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สายชล คงทิม. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของข้าราชการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเกริก.
สุดารัตน์ สีล้ง. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ ตำรวจภูธรจังหวัดฉะเชิงเทรา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1. (2564). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2563-2564 (ฉบับทบทวน พ.ศ.2564). ปทุมธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานีเขต 1.