การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเมือง ในเทศบาลเมืองชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลเมืองชุมแพ 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลเมืองชุมแพ 3) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลเมืองชุมแพ ประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 395 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเมือง โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.19 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการดูแลรักษาที่อยู่อาศัย ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการปรับปรุงระบบการจัดเก็บขยะ และด้านการส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.44 3.26 3.06 และ 2.89 ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเมือง พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีส่วนร่วมในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมเมืองในเทศบาลเมืองชุมแพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมประยุกต์ตามหลักอปริหานิยธรรม 7 พบว่า 1. ประชาชนควรมีการปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อแก้ไขปัญหา 2. ควรทำกิจที่ได้รับมอบหมาย 3. ควรตั้งหลักเกณฑ์ของชุมชน 4. ควรให้ความเคารพและให้เกียรติผู้บังคับบัญชา 5. ควรเปิดโอกาสให้สตรีมีบทบาทในด้านบริหารงานเท่าเทียม 6. ควรส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้มั่นคง 7. ควรทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและผู้ทรงศีลทรงธรรมซึ่งเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา
Article Details
References
Phra Khamla Xayyavong, (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการน้ำของชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ก่อโชค นันทสมบูรณ์, (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนสำหรับชุมชนตำบลลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
เกียรติศักดิ์ ดวงจันทร์, ความตระหนักทางจริยศาสตร์สิ่งแวดล้อมต่อการจัดการขยะและสิ่งปฏิกูล,สาขาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, วารสารศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ปีที่ 10 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2561), 440.
จันทร์เพ็ญ มีนคร, (2554).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบล
บางนางลี่ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม, รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์, คณะวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,
ญาณิศา โคคะมาย และวีรพล วีรพลางกูร, การมีส่วนร่วมในการจัดการสิ่งแวดล้อมของสมาชิกชุมชนในเขตเทศบาล ตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, HUSO Journal of Humanities and Social Sciences, ปีที่ 3 ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2562), 12.
ณัฏฐธิดา ชัยสงคราม และยุทธพงษ์ ลีลากิจไพศาล, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเทศบาลเมืองสามพราน จังหวัดนครปฐม, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต, วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก ปีที่ 35 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม 2560, 82-83.
ธงชัย สิงอุดม, การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองท้องถิ่นตามหลักอปริหานิยธรรม, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, วารสาร มจร. เลย ปริทัศน์, ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 (เดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2563), 81.
ธัญลักษณ์ สาวันดี, (2558).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธ ขององค์การบริหารส่วนตำบลเพ จังหวัดระยอง, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
นพรพรรณ ชัยนาม และประจักร บัวผัน, การมีส่วนร่วมในการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลแวงใหญ่ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น, วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), ปี ที่ 22 ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน 2565) 224.
บุศรา โพธิสุข, การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน, พิฆเนศวร์สาร ปีที่ 12 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-มิถุนายน (2559), 151.
พระนุชิต นาคเสโน (โพวิชัย), (2561). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารงานกำจัดมูลฝอย
ของเทศบาลตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), (2550). ธรรมนูญชีวิต, กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ,
พระมหานิพันธ์ ปริปุณฺโณ (เชียงกา), (2561).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะของ
ชุมชน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
เพิ่ม โลกคำลือ, (2559). การจัดการด้านขยะตามหลักอปริหานิยธรรมของชุมชนบ้านทุ่งล้อม ตำบลห้วยม้า อำเภอเมือง จังหวัดแพร่. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 หมวด 2 ส่วนที่ 3 การกําจัดมูลฝอย ข้อ 11 เล่ม 134 ตอนพิเศษ 267 หน้า 3.
ศรีสุวรรณ เกษมสวัสดิ์, (2553).ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในรายวิชาสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,
ศศิกาญจน์ ศรีโสภณ, กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย : กรณีศึกษาชุมชนศรีวิชัย จังหวัดชัยนาท, งานประชุมวิชาการระดับชาติ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, (2562), 458.
อัญมณี ทาทิตย์, (2563).การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในเขตพื้นที่อำเภอวังสมบูรณ์ จังหวัดสระแก้ว, บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราขมงคลธัญบุรี.