การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในโรงเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในโรงเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในโรงเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานตามแผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ (มคอ.3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จำนวน 27 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มสัมพันธ์ สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนรู้เรื่อง การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในโรงเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ด้วยการใช้โครงงานเป็นฐานหลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ .05 และความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เรื่อง การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในโรงเรียนตามแผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐานอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิจัยที่ได้สอดคล้องกับสมมติฐานทั้ง 2 ข้อ
Article Details
References
ณัฐรดา ธรรมเวช. (2564). การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องการสะท้อนของแสงโดยใช้โครงงาน
เป็นฐานของนักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,
(10), 66-77.
ดุลยา จิตตะยโศธร. (2551). บทบาททางเพศ: ในทัศนะของนักจิตวิทยา. วารสารวิชาการ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 28(1), 195-208.
ดุษฎี โยเหลา และคณะ. (2557). การศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบ PBL ที่ได้จากโครงสร้าง
ดความรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของเด็กและเยาวชน: จาก
ประสบการณ์ความสำเร็จของโรงเรียนไทย. กรุงเทพฯ: หจก. ทิพยวิสุทธิ์.
ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มี
ประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บรรจง อมรชีวิน. (2554). Thinking Scholl สอนให้คิด. กรุงเทพมหานคร: ภาพพิมพ์.
บุุญชม ศรีีสะอาด. (2560). การวิิจััยเบื้องต้้น. พิิมพ์์ครั้งที่่ 10. กรุุงเทพฯ: สุุวีีริิยาสาส์น.
ลริตา บุญทศ. (2557). การศึกษาความสามารถในการประกอบอาหารเรื่อง อาหารประจำ
ชาติอาเซียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล และมาเรียม นิลพันธุ์. (2564). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงาน
เป็นฐานตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน.
วารสารรวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 11(2), 8-23.
Best, J. W. (1981). Research in education. 4th. New Jersey: Prentice Hall.
Guzdial, M., Rick J., Kehoe C. (2001). Beyond Adoption to Invention:
Teacher-Created Collaborative Activities in Higher Education.
The Journal of the Learning Sciences, 10(3), 265-279.
United Nations. (2022). Goal 5: Achieve gender equality and empower
all women and girls. Retrieved June 8, 2023, from: