ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์ทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 3) เสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 320 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความตรงรายข้ออยู่ระหว่าง .67-1.00 และ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) การทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสร้างกระบวนการแบบท้าทาย รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านการมีวิถีทางสร้างต้นแบบ ด้านการสร้างขวัญและกำลังใจ ด้านการทำให้ผู้อื่นได้แสดงความสามารถ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการแบ่งปันวิสัยทัศน์ให้เกิดแรงบันดาลใจ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและครูที่มีอายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ประสบการณ์การทำงานและขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 3) แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล คือ ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคปัจจุบัน กำหนดนโยบายที่ชัดเจน นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างสร้างสรรค์ กำหนดบทบาทหน้าที่ตรงกับความสามารถของบุคลากร และประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). ผู้บริหารสถานศึกษายุคใหม่ในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1), 4-5.
ธนาภรณ์ ถัดหลาย. (2555). คุณลักษณะผู้บริหารโรงเรียนมืออาชีพตามความต้องการของครูผู้สอนและผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จังหวัดตราด. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.
ธิดา ทองแย้ม. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารกับบรรยากาศองค์การของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิยะวรรณ คิดโสดา. (2561). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานศึกษาธิการภาค 11. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
วรวรรษ เทียมสุวรรณ และคณะ (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย. วิทยาลัยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 15 (2), 219-231.
วิรวรรณ จิตต์ปราณี และชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. นนทบุรี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.
สุบัน มุขธระโกษา และคณะ. (2561). ความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษายุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ.
สุพรรณิกา สุบรรณาจ. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุวัฒน์ จุลสุวรรณ์ และนวรัตน์วดีชินอัครวัฒน์ (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อภิสิทธิ์ ทนคำดี. (2560). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
อมรา พิมพ์สวัสดิ์. (2562). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
Krejcie, R. V. and Morgan, D. W. (1970). Educational and Psychological Measurement. New York: Minnesota University.