นวัตกรรมการบริการที่ส่งผลต่อการให้การบริการที่เป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

อัณณ์ภิศา ราร่องคำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง นวัตกรรมการบริการที่ส่งผลต่อการให้การบริการที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบของนวัตกรรมการบริการมีความสัมพันธ์กับการบริการที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม และ 2) เพื่อศึกษานวัตกรรมการบริการที่มีผลต่อการบริการที่เป็นเลิศของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดังนั้น  ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาวิจัย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 117 คน และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ การวิเคราะห์ การถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบ พบว่า นวัตกรรมการบริการด้านบุคลากร ด้านคุณภาพการบริการ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการบริการที่เป็นเลิศโดยรวม โดยสรุป นวัตกรรมการบริการ ด้านบุคลากร ด้านคุณภาพการบริการ และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการบริการที่เป็นเลิศโดยรวม ดังนั้น ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาสารคามควรมุ่งเน้นให้ความสำคัญนวัตกรรมการบริการ มีการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำให้การให้บริการเกิดความพึงพอใจมากที่สุด นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับการบริการที่เป็นเลิศ มีบริการที่ดี รวดเร็ว และครบวงจร จนทำให้ผู้รับบริการชื่นชมและเกิดความพึงพอใจ จนบอกปากต่อปากส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ที่ดีของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งการสร้างการบริการที่เป็นเลิศนั้น วิธีการสร้างนั้นมิใช่สร้างได้เพียงไม่กี่เดือน แต่ต้องสร้างกันหลายปีจนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. (2556). การใช้ทุนทางสังคมเพื่อการดูแลสุขภาพชุมชน. วารสาร

วิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 24(1), 66-72.

กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (2564). ข้อมูลบุคลากร. สืบค้นเมื่อ 28 ตุลาคม

จาก www.pd.msu.ac.th

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2559). นวัตกรรมการบริการ : กลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบทาง

การแข่งขันขององค์การธุรกิจบริการ. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 14(2), 13-24.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประภาพร สิงห์ทอง และทัตษภร ศรีสุข. (2564). การศึกษาปัจจัยการให้บริการเพื่อพัฒนา

คุณภาพสู่ความเป็นเลิศกรณีศึกษำนักงานแรงงานจังหวัดนครสวรรค์. วารสาร

วิทยาการจัดการปริทัศน์, 23(1), 159-172.

ศิริวรรณ จุลทับและจินตนา ตันสุวรรณนนท์. (2558). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์เชิงรุก

ของสถาบันอุดมศึกษา เขตภูมิศาสตร์ภาคใต้. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏ

วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อภิชัย สุทธาโรจน์. (2564). การบริการสู่ความเป็นเลิศ. สืบค้นเมื่อ ธันวาคม 2565. จาก

www.ssmcsolution.com.

อวภาส์ ฉันทศาสตร์รัศมี. (2562). สาเหตุการลดลงของจำนวนนักศึกษา และแนวทางเลือก

ในการปรับตัวของสถาบันอุดมศึกษา เอกชนในจังหวัดกรุงเทพมหานครและ

ปริมณฑล. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2566. จาก http://utccmbaonline.

com/ijbr/doc/Id1212-07-11-2019_10:36:09.pdf.2562.

Aaker, D. A., Kumar, V., & Day, G. S. (2001). Marketing Research. New York:

John Wiley&Son.

Black, K. (2006). Business Statistics: for Contemporary Decision Making.

th ed. New York: John Wiley&Sons.

Nunnally, J. C. (1987). Psychometric Theory. 2nd ed. New York: McGraw-Hill.

Nunnally, J. C., and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. New York:

McGraw–Hill.