การประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินปฏิกิริยา 2) ประเมินการเรียนรู้ 3) ประเมินพฤติกรรม และ 4) ประเมินผลลัพธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็น ครู อาจารย์ และนักเรียน นักศึกษา จำนวน 56 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยล่ะ ผลการวิจัย พบว่า 1) ด้านปฏิกิริยาของผู้เข้าร่วมการอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.90 , S.D. = 0.30) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ด้าน 2) ด้านความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.82 , S.D. = 0.46) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ข้อ ด้านทักษะและความคิด ใฝ่รู้ใฝ่เรียนในวิชาชีพของตนเอง โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.72 , S.D. = 0.63) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 3 ข้อ 3) ด้านการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการอบรมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.76, S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ข้อ 4) ด้านผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.72, S.D. = 0.52) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 5 ข้อ ด้านประโยชน์ที่เกิดขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.91, S.D. = 0.24) เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทั้ง 4 ข้อ และ 5) การประเมินภาพรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ ค่าเฉลี่ยร้อยล่ะมากที่สุดทั้ง 4 ข้อ
Article Details
References
ชัญญาภัค วงศ์บา. (25551) ประเมินผลการฝึกอบรมตามโครงการ CHAMPION โดยประยุกต์ใช้แนวทางการประเมินของเคิร์กแพทริค. วารสาร สํานักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 ขอนแก่น, 19(1), 27-38.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยSPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นิวัฒน์ รังสร้อย. (2561). ผลโครงการพัฒนาทักษะทางดนตรีของกรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร
นาครทรรศน์, 5(3), 859-871.
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ฉบับที่ 13). (2565). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 139 ตอนพิเศษ258 ง หน้า 9 (1 พฤศจิกายน 2565).
สุจินต์ หนูแก้ว. (2565). การประเมินโครงการส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการโดยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนบ้านบ่อหิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 2. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 953-968.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
อาทิตย์ โพธิ์ศรีทอง. (2557). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ทางด้านดนตรี ในศตวรรษที่ 21. วารสาร สถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,17(2), 37-48.
Ali, M., & Shahrooz, F. (2012). Assessment Effectiveness on the jobtraining in Higher Education (case study: Takestan University). Journal Procedia - Socialand and Behavioral Sciences, 47(2012), 1310-1314.
Kirkpatrict L. Donald. (1998). Evaluating Training Programs: The Four Levels. (2nd ed.). San Francisco: Berrett-Koehler
Frunza, V. (2014). Ways to Address Barriers to Learning Training Activities. Journal Procedia – Social and Behavioral Sciences, 114(2014), 456-460.
Krejcie, R. V. & Morgan D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Scillities. Journal Education and Phychological Measurement, 30(3), 607-610.