การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ จำนวน 221 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .94 และแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ผู้บริหารสถานศึกษากับครูวิชาการที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารสถานศึกษากับครูวิชาการที่มีประสบการณ์ในการทำงานต่างกันและปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) แนวทางในการพัฒนาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอำนาจเจริญ ควรจัดอบรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้กับบุคลากร มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาโดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม จัดประชุมชี้แจง ร่วมกัน วางแผน ปรับปรุง พัฒนาและจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สนับสนุนงบประมาณ สื่อและเทคโนโลยี ส่งเสริมใช้การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม (DLTV) และมีการนิเทศ กำกับติดตามอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
Article Details
References
จักรพรรดิ์ ชื่นภิรมย์. (2566). การบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานีอำนาจเจริญ. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ. 3(2), 93 – 104.
ฐานพัฒน์ ไกรศร และอดุลย์ วังศรีคูณ. (2565). การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำพูน. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(12), 187 – 201.
ทองทิพย์ มนตรี. (2558). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2552). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
นโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนัก. (2556). คู่มือการบริหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
นวพรรณ เชื้ออ่ำ, ชวนคิด มะเสนะ และไพวุฒิ ลังกา. (2566). รูปแบบการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. 12(1), R-1 – R-14.
บุญกอง พลสมัคร. (2559). การศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานีเขต 5. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ลักษณาภรณ์ ทองสุข และณิรดา เวชญาลักษณ์. (2565). การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 1. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 7(1), 16-31.
วิชาการและมาตรฐานการศึกษา, สำนัก. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, สำนักงาน. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566—2570). ราชกิจจานุเบกษา.
สาคร มหาหิงค์. (2560). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารศิลปศาสตร์ปริทัศน์. 12(23), 1-12.
สุกัญญา ประมายะยัง. (2560). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สุภาณี ชำนาญศรี และสุวิมล ตั้งประเสริฐ. (2564). การศึกษาการบริหารหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. วารสารราชพฤกษ์. 19(2), 142-150.