ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญา เพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค ของนักศึกษาวิชาชีพครู

Main Article Content

ศิริวรรณ พื้นฉลาด
ปวีณา อ่อนใจเอื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการ เรียนรู้โดยใช้แนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาวิชาชีพครู โดยเปรียบเทียบในระยะก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชลบุรี ปีการศึกษา 2565 ที่ลงเรียนภาคฤดูร้อน จำนวน 50 คน โดยได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มอย่างง่าย ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) กิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการปรับ พฤติกรรมทางทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค 2) แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาวิชาชีพครู และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการปรับพฤติกรรมทางปัญญาเพื่อพัฒนาความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยการทดสอบค่าสถิติพาราเมตริก Paired-Sample t-test และ Independent Sample t-test ผลการวิจัย 1) นักศึกษากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในระยะหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ภายหลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีระดับคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ 3) ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักศึกษากลุ่มทดลองมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

ประเวศ วะสี. (2557). อภิวัฒน์การเรียนรู้ สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัท มาตาจำกัด.

เมษา นวลศรี และกุลชาติ พันธุวรกุล. (2563). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฟันฝ่าอุปสรรคของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 15(3):137-150.

ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์. 2545. เทคนิคสร้าง IQ EQ 3Q เพื่อความสำเร็จ. กรุงเทพ: สถาบันสร้างสรรค์ศักยภาพสมองครีเอตีฟเบรน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2552. ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค.

กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อังคณา อ่อนธานี. 2561. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาที่เสริมสร้างความสามารถในการฟันฝ่าอุปสรรค (AQ) สำหรับนักศึกษาครู. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 21(3).

Stoltz, P. G. 1997. Adversity quotient: turning obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Sons.

Woolfolk, A. (2004). Education psychology. 9th ed. Boston: Pearson.