การพัฒนาหนังสือสอนคำศัพท์ภาษามือไทย โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เสมือนจริงสำหรับผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่อง ทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม

Main Article Content

ปริวัตร ส่างหญ้านาง
ภัทรพร แจ่มใส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของหนังสือสอนคำศัพท์ภาษามือไทยโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง สำหรับผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับคัดเลือกคำศัพท์ จำนวน 5 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญสำหรับประเมินความถูกต้องของภาษามือไทย จำนวน 5 คน ผู้ปกครองของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม จำนวน 2 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนบุคคลที่มีความบกพร่องทางการ ได้ยินและด้านเทคโนโลยี จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  (1) แบบสอบถามรายการคำศัพท์สำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม (2) หนังสือสอนคำศัพท์ภาษามือไทยโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง (3) แบบทดสอบทักษะภาษามือของผู้ปกครอง (4) แบบประเมินประสิทธิภาพของหนังสือสอนคำศัพท์ภาษามือไทยโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้อง ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาหนังสือสอนคำศัพท์ภาษามือไทยโดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงตามกระบวนการ ADDIE MODEL ได้แก่ การวิเคราะห์ การออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ และการประเมินผล ประกอบด้วย ภาพภาษามือ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหวและเสียง มีทั้งหมด 4 หมวดการเรียนรู้ มีคำศัพท์ทั้งหมด 40 คำ และท่าภาษามือทั้งหมด 43 ท่ามือ 2) ประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.85, S.D. = 0.40) และผู้ปกครองมีผลรวมคะแนนหลังการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการเรียนรู้ โดยมีคะแนนความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ 90

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกภรณ์ ทรวดทรง และ สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานร่วมกับเทคโนโลยีเสมือนจริงที่ส่งเสริมทักษะการสร้างแบบจำลองและมโนทัศน์ เรื่อง สารละลาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 23(4): 46-57.

กอบเกียรติ สระอุบล และ พัลลภ พิริยะสุรวงศ์. (2557). สื่อการสอนช่วยลดภาระทางปัญญาสำหรับการศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารปัญญาภิวัฒน์. 6(1): 198-207.

เกยูร วงศ์ก้อม. (2564). การพัฒนาชุดส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสารเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินในระยะแรกเริ่ม.วารสารวิทยาลัยราชสุดา. 17(2): 49-63.

จิรากร เฉลิมดิษฐ, นวรัตน์ วิทยาคม, และณมน จีรังสุวรรณ. (2561). ความท้าทายในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการศึกษายุค 4.0 CHALLENGES ON AUGMENTED REALITY FOR EDUCATION 4.0. Journal of Education Naresuan University. 20(2): 266-279.

ณัฐญา ห่านรัตนสกุล และเตวิช เสวตไอยาราม. (2562). ทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียของ Richard E. Mayer และการออกแบบสื่อมัลติมีเดียในภาษาที่สอง กรณีศึกษาหลักการเรียนแบบซ้ำซ้อน (Redundancy Principle) และหลักการเรียนแบบสมัยนิยม (Modality Principle) ในงานวิจัยภาษาที่สอง. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 30(1): 219-229.

ปราณี ปราบริปู, ปรัชญา ใจภักดี, พรทิพย์ รักชาติ, และ จงกล เก็ตมะยูร. (2560). แนวทางการสร้างหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(2): 346-359.

ปริญญา สิริอัตตะกุล และ วิภาสิริ บุญชูช่วย (2562). ความสามารถทางการคิดแบบ Theory of Mind ของเด็กหูหนวกในโรงเรียนโสตศึกาจังหวัดนครปฐม. วารสารจิตวิทยาประยุกต์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 1(1): 110-122.

ปรเมศวร์ บุญยืน, พฤหัส ศุภจรรยา, ภัทรานิษฐ สงประชา, นันทพร จางวรางกูร, และศักดา โกมลสิงห์. (2564). การวิจัยและพัฒนาบทเรียนออนไลน์สาระภูมิศาสตร์ผ่านระบบจัดการการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินระดับมัธยมศึกษา. วารสารวิทยาลัยราชสุดา.18(1): 37-59.

รัติยา ธานี. (2563). การพัฒนาบทเรียนภาษามือไทยระบบมัลติมีเดีย สำหรับผู้ปกครองนักเรียนผู้บกพร่องทางการได้ยินเสียง โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดสุรินทร์. Industrial Technology Journal. 5(1).

วรางคณา นามแสง. (2558). การพัฒนาคลังคำศัพท์ออนไลน์สำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

วรรณริชฎา กิตติธงโสภณ, ศันสนีย์ เมฆรุ่งเรืองวงศ์, และอาทิตยา วังวนสินธุ์. 2563. การส่งเสริมพัฒนาการในเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาอย่างไรให้ประสบผลสำเร็จ. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 33(2): 6-18.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2558). การพัฒนาสื่อ Augmented Reality ด้วยโปรแกรม Processing และ openSpace3D. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาบันส่งเสริมมาตรฐานการศึกษานอกโรงเรียน กรมการศึกษานอกโรงเรียน กระทรวงศึกษาธิการ. (2541). หลักสูตรภาษามือแบบเบ็ดเสร็จขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2557). การวิจัยและพัฒนา : วิธีการวิจัยเพื่อพัฒนางานวิจัย. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 1(1): 2-11.

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). ชุดเอกสารศึกษาด้วยตนเอง วิชาความรู้พื้นฐานด้านการศึกษาสำหรับคนพิการหรือผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เล่มที่ 8 การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. ม.ป.ท.

หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2544). หนังสือคู่มือภาษามือ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อรนุช ลิมตศิริ. (2560). การสอนเด็กพิเศษ (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Anshori, H., & Novianingsih, K. (2021). The development of mathematics teaching materials integrating by Augmented Reality Software and Android for deaf students. In Journal of Physics: Conference Series. 1882(1).

Brice, Patrick J., & Gillie Strauss. (2016). Deaf adolescents in a hearing world: a review of factors affecting psychosocial adaptation. Adolescent health, medicine and therapeutics. 7 : 67-76.

Gupta, P., Agrawal, A. K., & Fatima, S. (2004). Sign Language Problem and Solutions for Deaf and Dumb People In Proceedings of the 3rd International Conference on System Modeling & Advancement in Research Trends (SMART), Sicily: Italy (Vol. 30).

Hasanah, A., Kusumah, Y. S., & Rahmi, K. (2020). Rounding-augmented reality book and smartphone for deaf students in achieving basic competence. In Journal of Physics: Conference Series. 1521 (3).

Mayberry, R. I. (1998). The critical period for language acquisition and the deaf child's language comprehension: A psycholinguistic approach. BULLETIN D AUDIOPHONOLOGIE. 14: 349-360.

McKean, C., Reilly, S., Bavin, E. L., Bretherton, L., Cini, E., Conway, L., ... & Mensah, F. (2017). Language outcomes at 7 years: Early predictors and co-occurring difficulties. Pediatrics, 139(3).

Nada Aldoobie. (2015). ADDIE Model. American International Journal of Contemporary Research. 5(6).

Schmalstieg, D., & Hollerer, T. (2016). Augmented reality: principles and practice. Addison-Wesley Professional.

Szarkowski, Amy, & Patrick J. Brice. (2016). Hearing parents’ appraisals of parenting a deaf or hard-of-hearing child: Application of a positive psychology framework. Journal of deaf studies and deaf education. 21(3): 249-258.