ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียน ในเครือคณะภคินีรักกางเขนแห่ง อุบลราชธานี

Main Article Content

รัตนพร ศิลาโคตร
พงษ์ธร สิงห์พันธ์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผูนําการเปลี่ยนแปลงของผูบริหารสถานศึกษา โรงเรียนในเครือคณะภคินีรักกางเขนแห่ง อุบลราชธานี 2) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในเครือคณะภคินีรักกางเขนแห่ง อุบลราชธานี  3) ศึกษาความสัมพันธระหวางภาวะผูนําการเปลี่ยนแปลงของผูบริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในเครือคณะภคินีรักกางเขน แห่ง อุบลราชธานี 4) ศึกษาข้อเสนอแนะและแนวทางเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในเครือคณะภคินีรักกางเขนแห่ง อุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่าตามแบบของ Likert จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ระดับภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในเครือคณะภคินีรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในเครือคณะภคินีรักกางเขน แห่ง อุบลราชธานี โดยรวมและรายได้อยู่ในระดับมาก ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู โรงเรียนในเครือคณะภคินีรักกางเขนแห่งอุบลราชธานี ในทางบวกในระดับต่ำมาก (rXY=.193) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาผู้บริหารควรใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมงาน ปฏิบัติตนต่อผู้ร่วมงานโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล สร้างบรรยากาศในองค์กรให้บุคลากรได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันและสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรเห็นความสำคัญและคุณค่าของตนเองอยู่เสมอ ผู้บริหารควรสนับสนุนให้ครูได้ตัดสินใจในงานที่ได้รับมอบหมายเต็มที่ มอบหมายงานที่มีความสําคัญ สนับสนุนการปฏิบัติงานของครูอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
Research Articles

References

กุลณัฐ เหมราช, พิทักษ์ นิลนพคุณ, อุษา คงทอง และวรสรณ์ เนตรทิพย์. (2563). การพัฒนา

รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิตสำหรับนักเรียนชั้น

มัธยมศึกษาตอนต้น. Journal of Modern Learning Development, 5(3), 46-59.

กฤติยา พิกุลทอง. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของข้าราชการครู กลุ่มบางละมุง 3 สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่ การศึกษาชลบุรี เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชัยอานนท์ แก้วเงิน. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของ

สถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี.

ยุพิน ศิลาโคตร. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาคาทอลิกในศตวรรษที่ 21 สังฆมณฑลอุบลราชธานี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

วีรศักดิ์ ปกป้อง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนในสหวิทยาเขต ชลบุรี 2. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุดารัตน์ บุษบา. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา

กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนสฤษดิเดช สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรีเขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา.

Barnett, Alan M. (2005). The Impact of Transformational Leadership Style of the

School Principal on School Learning Environment and Selected Teacher

Outcomes. Doctor of Philosophy University of Western Sydney.

Bass B. M. (1985). Leadership and performance beyond expectation. NY The Free

Press.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research

Activities. Educational and Psychological Measurement. 30 (3), 607- 610.

McClelland, D. C. (1961). The achieving society. New York: D. Van Nostrand