การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่มีภาวะโภชนาการเกินโดยจัดกิจกรรมการเล่านิทาน

Main Article Content

ฉัตรวิไล สุรินทร์ชมพู
ปารีญา ราพา
กนกวรรณ กำกูด

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่มีภาวะโภชนาการเกิน
โดยจัดกิจกรรมการเล่านิทาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่มี
ภาวะโภชนาการเกินที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเล่านิทานและเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่มีภาวะโภชนาการเกิน ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือนักเรียนชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลเชียงคาน “ปทุมมาสงเคราะห์” อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวนนักเรียน 15 คน 
โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลากมา 1 ห้องเรียน
จากจำนวน 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเล่านิทานและแบบประเมินพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายของเด็กปฐมวัยที่มีภาวะโภชนาการเกิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่มีภาวะโภชนาการเกิน อายุระหว่าง 5-6 ปี
โรงเรียนอนุบาลเชียงคาน “ปทุมมาสงเคราะห์” อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่ได้รับการ
จัดกิจกรรมการเล่านิทาน มีค่าเฉลี่ยในภาพรวมเท่ากับ 15.28 (S.D = 0.85) โดยสัปดาห์ที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ สัปดาห์ที่ 4 เรื่อง กุ๊กไก่ผู้แข็งแรง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.67 (S.D = 0.82) รองลงมาคือ สัปดาห์ที่ 3 เรื่อง สิงโตอุ้ยอ้าย มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 16.07 (S.D = 0.88) รองลงมาคือ สัปดาห์ที่ 2 เรื่อง หนูจะกินอะไรดี มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 14.87 (S.D = 1.13) และสัปดาห์ที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ สัปดาห์ที่ 1 เรื่อง หนูเป็ดอ้วน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 13.53 (S.D = 1.25) 2) พฤติกรรมสุขภาพเด็กปฐมวัยที่มีภาวะโภชนาการเกิน อายุระหว่าง 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลเชียงคาน“ปทุมมาสงเคราะห์” อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย หลังจัดกิจกรรมการเล่านิทานดีขึ้นกว่าก่อนจัดกิจกรรม อย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
Research Articles

References

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข. (2554) กินตามวัยให้พอดี. ระบบออนไลน์. แหล่ง ที่มา http:/nutrition.anamai.moph.go.th/ temp/main/upbook/files/o1.pdf.

(10 ตุลาคม 2564).

นิศารัตน์ ชูชาญ และ ภานุวัฒน์ นิ่มนวล. (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการ รับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีที่ 50 ฉบับที่ 2 EDUCU5002005 (12 pages) doi:

พัฒน์นรี จันทราภิรมย์. (2559) การศึกษาผลของการใช้นิทานเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ปริญญานิพนธ์ สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. ปทุมธานี : บัญฑิตมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ศักรินทร์ สุวรรณเวหา. (2562).ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียน:การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima Vol. 25 No. 2 July - December 2019. Page 8-24.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556) แนะแนวหลักในการปฏิบัติต่อเด็กวัย 3-5 ปี ของพ่อแม่ ผู้ปกครอง. กรุงเทพฯ : บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด

สมสิริ รุ่งอมรรัตน และคณะ. (2560). การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล ปีที่ 32 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2560. หน้า 120-133.

อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์ และคณะ. (2563). ความรอบรู้ด้านสุขภาพเรื่องฉลากโภชนาการในเด็กวัยเรียน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2563. หน้า 70-82.