การพัฒนาความรับผิดชอบด้านการเรียนแบบออนไลน์โดยการใช้โปรแกรมการกำกับตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความรับผิดชอบด้านการเรียนแบบออนไลน์ของนักศึกษาวิชาชีพครู ของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม หลังเข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 60 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองจำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และโปรแกรมการกำกับตนเอง มีค่าเหมาะสมของโปรแกรมเท่ากับ 4.44 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ t-test ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมโปรแกรมการกำกับตนเอง มีคะแนนความรับผิดชอบด้านการเรียนออนไลน์เฉลี่ย 58.83 สูงกว่าก่อนกลุ่มควบคุมที่มีค่าเฉลี่ย 43.23 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
จักรกฤษณ์ โพดาพล. (2563). การจัดการเรียนรู้ออนไลน์: วีถีที่เป็นไปทางการศึกษา. เลย:
มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
จิตตินันท์ บุญสถิรกุล. (2564). การพัฒนาการของชีวิตด้านอาชีพ. กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เด่น บุญมาวงค์ และคณะ. (2565). พฤติกรรมการเรียนออนไลน์และผลการเรียนรู้ ของนักศึกษา
วิทยาลัยทองสุข. วารสารสหวิทยาการพัฒนา. 1(1). 251-257.
ทาริกา สมพงษ์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการกำกับตนเองเรื่องชนิดและ
หน้าที่ของคำกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ธัญญาภรณ์ อุปมัยรัตน์. (2561). ผลโปรแกรมการกำกับตนเองต่อทัศนคติการใช้ความรุนแรงและ
พฤติกรรมการควบคุมตนเองของนักเรียนวัยรุ่น. ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สงขลา:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นิราศ จันทรจิตร (2558) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เสริมสร้างการกำกับตนเองในการเรียนของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 21(2). 22 -40.
ปิยะวรรณ ปานโต. (2563). การจัดการเรียนการสอนของไทยภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาด
ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19).กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
รานี ลิ้มเจริญ. (2564). ผลของการใช้กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนโดยใช้แนวคิดการกำกับตนเองเพื่อ
เสริมสร้างวินัยด้านความรับผิดชอบของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเชิงกระบือ. วารสารการวัดผลการศึกษา. 38(104). 82-93.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2549). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 5).
กรุงเทพฯ : สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.