ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษีในเขตจังหวัดชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ระดับการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษีในเขตจังหวัดชัยภูมิ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษีในเขตจังหวัดชัยภูมิ และ 3) แนวทางการพัฒนาการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษีในเขตจังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประชาชนผู้มาใช้บริการชำระภาษีรถ ณ สำนักงานขนส่งจังหวัดชัยภูมิประจำปี 2564เขตจังหวัดชัยภูมิ จำนวน 400 คน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลภาครัฐ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัฐ จำนวน 10 คน มาใช้หาข้อมูลในการสัมภาษณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น และการพรรณนา จำแนกข้อมูล จัดทำบรรณาธิกรณ์ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูล เขียนเป็นรายงานตามวัตถุประสงค์ ประกอบการอภิปรายผลผลการวิจัย พบว่า ระดับการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษีในเขตจังหวัดชัยภูมิ ตัวแปรตาม โดยรวมทุกด้าน พบว่า ระดับการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษีในเขตจังหวัดชัยภูมิ ตัวแปรตาม อยู่ในระดับปานกลาง (X̅=3.04 S.D.=.32) โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านวัฒนธรรมองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง (X̅=3.15 S.D.=.30) ด้านความพึงพอใจ อยู่ในระดับ ปานกลาง (X̅=3.03 S.D.=.10) และด้านประสิทธิภาพ อยู่ในระดับปานกลาง (X̅=3.01 S.D.=.65) ตามลำดับ ค่าน้ำหนักความสำคัญของตัวแปรปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้บริการชำระภาษีรถประจำปีของประชาชนระหว่างวิธีปกติและวิธีเลื่อนล้อต่อภาษีในเขตจังหวัดชัยภูมิ โดยรวมทุกด้าน พบว่า ด้านพฤติกรรมและวิธีการให้บริการ(X3) ด้านช่องทางการให้บริการ(X4) ด้านกระบวนการหรือขั้นตอนการให้บริการ(X1) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .421 .273 และ .038 ตามลำดับ
Article Details
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for Window (พิมพ์ครั้งที่ 12).
กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัด สามลดา.
จิรศักดิ์ รอดจันทร์. (2556). ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา: หลักการและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณัฐสินี วัดสง่า. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้มาใช้บริการชำระภาษีรถ ณ สำนักงาน
ขนส่งจังหวัดลพบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ณัชชา จีนสักโตและคณะ. (2561). การประเมินผลการบริการที่เป็นเลิศในการต่อทะเบียนรถแบบ
เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) ของสำนักงานขนส่งจังหวัดชลบุรี. บัณฑิต
วิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มนัสชนก ทิพย์รักษา. (2556). ความสําเร็จในการนํานวัตกรรมมาใช้ในองค์การภาครัฐ : กรณศึกษา
การให้บริการรับชําระภาษรถแบบเลื่อนล้อต่อภาษีกรมการขนส่งทางบก. บัณฑิต วิทยาลัย :สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. (พิมพ์ครั้งที่ 6).กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.
อภิญญา เลื่อนฉวี. (2552). กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ : วิญญูชน.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis.3rdEd.New York.Harper and
Row Publications.