การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

อินทร์รดี อริยชัยเปรมวดี
ชิดชไม วิสุตกุล

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป 2) เปรียบเทียบความกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2 ที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนสังกัดเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป จำนวน 12 แผน 2) แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์จากการวาดภาพ (TCT-DP) 3) แบบประเมินพฤติกรรมความกล้าแสดงออกของเด็กปฐมวัย จำนวน 15 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป จำนวน 8 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t-test for dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2 มีความคิดสร้างสรรค์หลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2 มีความกล้าแสดงออกหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) เด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2 มีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และความกล้าแสดงออก โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅= 2.93, S.D.= 0.16)

Article Details

บท
Research Articles

References

จีรนะ ดวงภูเมฆ. (2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมเล่านิทานประกอบการแสดงบทบาทสมมติเพื่อ

ส่งเสริมความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ. (2563). นโยบายและแนวปฏิบัติในการจัดการศึกษาและการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. สืบค้นจาก https://moe360.blog/2020/09/23/early-childhood/

ณัฐญา นันทราช. (2563). การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานของเด็กปฐมวัย โดยการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบไฮสโคปด้วยกิจกรรมเกมการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลันราชภัฏสกลนคร.

นรรัชต์ ฝันเชียร. (2562). 7 กลยุทธ์ที่ช่วยสร้างชั้นเรียนที่มีคุณภาพ. สืบค้นจาก

https://www.trueplook

บุญส่ง นิลแก้ว. (2541). วิจัยทางการศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุษบา วุฒิสาร, สุจิตรา แบบประเสริฐ, และวรนารถ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2554). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความเชื่อมั่นในตนเองของเด็กปฐมวัยโดยการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบไฮ/สโคป. วารสารวิชาการหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 3(6), 103-111.

เบญจรัตน์ จงจำรัสพันธ์. (2560). หยุดพัฒนาการถดถอยของเด็กปฐมวัยในยุคโควิดด้วยกระบวนการสอนของพ่อแม่. สืบค้นจาก https://research.eef.or.th/the-teaching-process-of-parents/

ภาวิณี โตสำลี และณัฐทิญาภรณ์ การะเกตุ. (2564). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ด้วยการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี, 5 (1), 53-66.

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. (2562). ไฮสโคป (High Scope) การเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ. สืบค้นจาก

http://suphanburicampus.dusit.ac.th/new/2018/12884

รุสนี เจะเตะ. (2562). ผลการจัดกิจกรรมตามแนวคิดไฮสโคปร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อความ

สามารถในการวิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 2. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 11, 1431-1445.

ศูนย์พัฒนาสื่อปฐมวัย. (2560). หนังสือเสริมประสบการณ์ระดับปฐมวัย ชุดบูรณาการปฐมวัย

อนุบาล 2 ธรรมชาติรอบตัว. กรุงเทพฯ: อักษรเอ็ด ดูเคชั่น.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

Edbathai. (2022). การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยไทย ตามแนวคิดไฮสโคป. สืบค้นจาก

http://www.edbathai.com

Jellen, H.G. & Urban, K.K. (1986). Test For Creativity Thinking Drawing Production.

The Creative Child and Adult Quarterly, 11(8), 107-155.

Morrison, G.S. (2000). Fundamentals of Early Childhood Education. 2nd ed. New Jersey: Merrill.