การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรม Model Eliciting Activities ร่วมกับเกมกระดานสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 DEVELOPMENT OF MATHEMATICAL PROBLEM SOLVING SKILLS USING MODEL ELICITING ACTIVITIES WITH BOARD GAMES FOR GRADE 9 STUDENTS

Main Article Content

ตุลา ประทับ
สุดคนึง นฤพนธ์จิรกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้กิจกรรม Model Eliciting Activities (MEAs) ร่วมกับเกมกระดาน 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรม Model Eliciting Activities (MEAs) ร่วมกับเกมกระดานกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนจิตรลดา ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรม MEAs ร่วมกับเกมกระดาน 2) แบบทดสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และ 3) แบบสอบถามความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรม Model Eliciting Activities ร่วมกับเกมกระดานสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรม Model Eliciting Activities ร่วมกับเกมกระดานแตกต่างจากเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนโดยใช้กิจกรรม MEAs ร่วมกับเกมกระดานอยู่ในระดับมีความสุขมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ขวัญเนตร คาวีวงศ์. (2555, 14 มีนาคม). สรุปบทความทางวิชาการเรื่อง เรียนให้มีความสุข. การประชุมคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม ครั้งที่ 3/2555. จากhttp://legacy.orst.go.th.

ขวัญหทัย พิกุลทอง, ชนิศวรา เลิศอมรพงษ์, สิริพร ทิพย์คง และชานนท์ จันทรา. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 29(3), 13-30.

จีราวัฒน์ จันทร์หอม. (2555, 6 มิถุนายน). สรุปบทความทางวิชาการเรื่อง ทำอย่างไรเด็กนักเรียนจะมีความสุขในโรงเรียน. การประชุมคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม ครั้งที่ 6/2555. จาก http://legacy.orst.go.th.

ชาคริสต์ ขำศรี. (2565). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานที่ส่งเสริมมโนทัศน์ ทางคณิตศาสตร์ เรื่อง จำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(10), 297-312.

ทศพล สุดดี. (2563). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทาง MEAs ที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ธิดาพร ผันผ่อน, ประภาพร หนองหารพิทักษ์, และปวีณา ขันธ์ศิลา. (2566). การสร้างบอร์ดเกมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 22(1). 99–109.

ปรีชา เนาว์เย็นผล. (2556). การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์. ในประมวลสาระชุดวิชาสารัตถะและวิทยวิธีทางคณิตศาสตร์ Foundations and Methodologies of Mathematics Instruction. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พิสมัย ศรีอำไพ. (2553). คณิตศาสตร์สำหรับครูประถม. ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

รัชกร เวชวรนันท์. (2563). เล่นบอร์ดเกมการเรียนรู้...แล้วได้ประโยชน์อะไร?. สืบค้น 5 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.bosslabboardgame.com/post/

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2555). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. คิวมีเดีย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). (2564). ผลการประเมิน PISA 2018 การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

สุวพัชร โพธิ์ปิ่น. (2564). การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Model Eliciting Activities เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อัมพร ม้าคนอง. (2559). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. โรงพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Blum, W., & Niss, M. (1991). Applied mathematical problem solving, modelling, applications, and links to other subjects State, trends and issues in mathematics instruction. Educational Studies in Mathematics, 22, 37-68.

Chamberlin, S. A., & Coxbill, E. (2012). Using model eliciting activities to introduce upper elementary students to statistical reasoning and mathematical modeling. Prufrock Press.

Chamberlin, S. A., & Moon, S. M. (2005). Model-Eliciting Activities as a Tool to Develop and Identify Creatively Gifted Mathematicians. The Journal of Secondary Gifted Education, 17(1), 37-47.

Chris, V. (2021). How to Develop Problem Solving Skills: 4 Tips. สืบค้น 15 ตุลาคม 2565 จาก https://www.masterclass.com/articles/how-to-develop-problem-solving-skills#6-steps-of-the-problem-solving process

Chung, C. C., Hsu, Y. C., Yeh, R. C., & Lou, S. J. (2017). The Influence of Board Games on Mathematical Spatial Ability of Grade 9 Students in Junior High School. PEOPLE: International Journal of Social Sciences, 3(1), 120 – 143.

Gick, M. L. (1986). Problem Solving Strategies. Educational Psychologist, 21, 99-120.

Lesh, R., Hoover, M. N., Hole, B., Kelly, A., & Post, T. (2000). Principles for Developing Thought-Revealing Activities for Students and Teachers, In Kelly, A. and Lesh, R. (Eds.). Mahwah, Lawrence Erlbaum Associates.

Lin, Y. T., & Cheng, C. T. (2022). Effects of Technology – Enhanced Board Game in Primary Mathematics Education on Students’ Learning Performance. Applied Sciences, 12(2022), 11356, 1-12.