การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนของแฮร์โรว์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

วราภรณ์ จุลฉีด
เก็ตถวา บุญปราการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิด การสอนของแฮร์โรว์หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนของแฮร์โรว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนบ้านดาหลำ จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนของแฮร์โรว์ แบบประเมินทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์ โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนของแฮร์โรว์ และแบบประเมินวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนของแฮร์โรว์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเชื่อมั่น และการหาค่าที (T-test) ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะปฏิบัตินาฏยศัพท์โดยการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนของแฮร์โรว์หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (X̅= 48.00, S.D. = 2.73) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการสอนของแฮร์โรว์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 (X̅= 4.52, S.D.= 0.34)

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2543). การสอนแบบจิตปัญญา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเฟรดเดอร์การพิมพ์.

จารุณี ลิมปนานนท์. (2539). การใช้ชุดฝึกกิจกรรมนาฏศิลป์ด้วยตนเองสำหรับครูชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมณี. (2545). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หากหลาย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เรณู โกสินานนท์. (2546). นาฏยศัพท์ : ภาษาท่านาฏศิลป์ไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

อมรา กล่ำเจริญ. (2535). วิธีสอนนาฏศิลป์. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.