การศึกษาการสกัดเพกทินจากเปลือกเหลือทิ้งของส้มโอ (Citrus maxima Merr.) จากอำเภอบ้านแท่นจังหวัดชัยภูมิ เพื่อประยุกต์ใช้ในการยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงน้ำดอกไม้สุก

Main Article Content

สิขรินทร์ ก้อนในเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพกทินจากเปลือกเหลือทิ้งของส้มโอพันธุ์ทองดีจากอำเภอบ้านแท่น จังหวัดชัยภูมิ และนำไปประยุกต์ใช้ในการเป็นสารเคลือบผิวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงสุก โดยศึกษาเปรียบเทียบวัตถุดิบ 3 ชนิด ได้แก่ เปลือกส้มโอสด เปลือกส้มโอที่ทำแห้งโดยการตากแดดและเปลือกส้มโอที่อบแห้งโดยตู้อบลมร้อน และศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด โดยมีปัจจัยที่ทำการศึกษา 2 ปัจจัย ได้แก่ อุณหภูมิในการสกัดที่ 50-90 องศาเซลเซียส และพีเอชในการสกัดที่ 2-6 จากการทดลองพบว่าเปลือกส้มโอที่ทำแห้งโดยการตากแดด และเปลือกส้มโอที่อบแห้งโดยการใช้ตู้อบลมร้อน ให้ผลผลิตปริมาณเพกทินสูงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ดังนั้นจึงเลือกวิธีอบด้วยลมร้อนมาใช้ในการเตรียมวัตถุดิบในการทดลองขั้นถัดไป เนื่องจากควบคุมคุณภาพชองวัตถุดิบได้ดีกว่าและใช้เวลาสั้นกว่า ส่วนการหาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด พิจารณาจากปริมาณและคุณภาพของเพกทินที่สกัดได้ พบว่าอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส ค่าพีเอช 3 สามารถสกัดเพกทินจากเปลือกส้มโอได้ในปริมาณมากที่สุด ที่ร้อยละ 22.99 และ 22.56 และเป็นเพกทินที่มีปริมาณเมทอกซิลต่ำอยู่ในช่วงร้อยละ 6.5-6.8 ซึ่งไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำตาลในการเกิดเจลและมีระดับการเกิดเอสเทอริฟิเคชันอยู่ในช่วง 40.0-41.5 เมื่อนำเพกทินที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการเป็นสารเคลือบผิวเพื่อยืดอายุการเก็บรักษามะม่วงสุก พบว่าสามารถชะลอการสูญเสียน้ำหนักและการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวของมะม่วงได้ถึง 10 วัน

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมศุลกากร. (2552). สถิติการนำเข้าและส่งออก.แหล่งที่มา : http://www.costoms.go.th/Statistic/Statisticindex.jsp. 24 พฤจิกายน 2552.

ก่องกานดา ชยามฤต และ ลีนา ผู้พัฒนพงศ์. (2545). สมุนไพรไทย ตอนที่ 7. โรงพิมพ์ประชาชาติจำกัด. กรุงเทพฯ.

ชวนิฏฐ์ สิทธิดิลกรัตน์, พิลาณี ไวถนอมสัตย์, จิราภร เชื้อตระกูล และ ปริศนา สิริอาชา. (2548). การผลิตเพกทินจากเปลือกและกากส้มเหลือทิ้ง. เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 43 : สาขาสัตว์ สาขาอุตสาหกรรมเกษตร. 469-480. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชินานาฏ วิทยาประภากร และ สมัชญ์ ทวีเกษมสมบัติ. (2555). การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพกทินจากวัสดุทางการเกษตร. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5. 183-189. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.

พันธุ์เลิศ พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2554). การพัฒนากระบวนการผลิตเพกทินจากใบเครือหมาน้อยและการประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์อาหาร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์.

พิเชษฐ์ เทบำรุง. (2546). การสกัดเพกทินจากใบกรุงเขมา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

โสรญา รอดประเสริฐ. (2557). สารเคลือบผิวผลไม้มีประโยชน์อย่างไร. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ, 62 (196), 2557. 41-43.

องอาจ เด็ดดวง. (2553). การเปรียบเทียบเพกทินสกัดจากฝรั่งสามชนิดกับเพกทินมาตรฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อรพิน ภูมิผมร. (2523). คาร์โบไฮเดรตในอาหาร : พอลีแซ็คคาไรด์. กรุงเทพฯ: คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Menezes J. and Athmaselvi K.A. (2016). Study on effect of pectin based edible coating on the shelf life of sapota fruits. Biosciences Biotechnology Research Asia. 13(2). 1195-1199.

Pilnik, W. and Voragen, A.G.J. (1991). The significance of endogenous and exogenous pectic enzyme in fruit and vegetable processing. In P.F. Fox (ed.). Food Enzomol. 1, Elsevier Science Publisher, Amsterdam. 303-336

Sinthong, J., Cui, S.W., Ningsanond, S. and Goff, H.D. (2004). Structural characterization, degree of esterification and some gelling properties of Krueo Ma Noy (Cissampelos pareira) pectin. Carbohydr. Polym. 58, 391-400