กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง 2) เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย โดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนวัดหนองแขม กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ที่ได้มาโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมและแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำ ซึ่งเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง มีแผนการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน ใช้เวลาการจัดกิจกรรม 12 ชั่วโมง โดยเชื่อมโยงความรู้จาก 7 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้เพลง เกม และการแสดงบทบาทสมมุติ ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่า ชุดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้อง เรื่อง ชนิดและหน้าที่ของคำถูกต้องและเหมาะสมที่จะนำไปใช้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาไทย ผลการประเมินแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริม การเรียนรู้ภาษาไทยโดยเชื่อมโยงกับสาระที่เกี่ยวข้องจากผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมากที่สุด นักเรียนทุกคนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีมาก และมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กนกรัตน์ จิรสัจจานุกูล และณมน จีรังสุวรรณ. (2561). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยทฤษฎี
การเรียนรู้แบบการสร้างความรู้นิยมและทฤษฎีการเชื่อมโยงความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรม
แบบประสบการณ์จริง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี,7,2(กรกฎาคม –
ธันวาคม 2561).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.
กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
เกวลิน งามพิริยกร. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทยในระดับการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เกวลี รังสีสุทธาภรณ์. (2563). รูปแบบการเรียนรู้แบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมือง
วิวัฒน์ในการพัฒนาท้องถิ่นสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ. บัณฑิตวิทยาลัย:
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชมพูนุท หาญทนงค์. (2561). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย เรื่องชนิดและ
หน้าที่ของคำ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนหนองหญ้าไซวิทยา สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เพลงประกอบการสอน
กับวิธีสอนแบบปกติ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น .
ณัฏฐา ผิวมา. (2563). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานด้วยบูรณาการเทคโนโลยีเกม
คอมพิวเตอร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ ฉบับพิเศษ
ครบรอบ 15 ปี มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์ (ธันวาคม 2564).
ทิศนา แขมมณี, พิมพันธ์ เตชะคุปต์, ศิริชัย กาญจนวาสี, ศริธร วิทยะสิรินันท์ และ นวลจิตตต์
เชาวกีรติพงศ์. (2541).การเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิดตามแนวปฏิรูปการเรียนรู้ตาม
แนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นาวิน คงรักษา. (2561). รูปแบบการปริทัศน์ความรู้ตามแนวคิดการเชื่อมโยงนิยมเพื่อการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ 21. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
นวภัทร์ สมานพันธ์. (2556). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีการอ่านแบบร่วมมือและ
เพลงเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 3. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิธินันท์ ชารีชุม. (2563). กิจกรรมบทบาทสมมติกับการสอนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนนายสิบ
ตำรวจ. วารสารลวะศรี,4,1(มกราคม – มิถุนายน 2563).
บัวลักษณ์ เพชรงาม. (2562). การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติในวรรณคดีเรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอน
ขุนช้างถวายฎีกาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเขียนสรุปความตามแนวการสอน
ภาษาแบบองค์รวมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราช
ภัฏสวนสุนันทา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ปิยะวดี พงษ์สวัสดิ์ และ ณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนแบบ
ห้องเรียนกลับด้านโดยใช้กิจกรรม Web Quit เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่
สำหรับนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอม
เกล้าพระนครเหนือ,6,1 (กรกฎาคม – ธันวาคม 2561).
พระมหานรินทร์ สุมโน. (2560). การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ภาษาไทยในศตวรรษที่ 21.
วารสารศึกษาศาสตร์ มมร,5,1(มกราคม – มิถุนายน 2560).
ภาวินี กลิ่นโลกัย. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เกม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียน
บ้านเกาะ สำนักงานเขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยืน ภู่วรวรรณ. (2556).“เทคโนโลยีอุบัติใหม่” เอกสารประกอบการบรรยายการประชุม
ทางวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 9. วันที่ 28-29 กรกฎาคม 2556 ที่ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จังหวัดพิษณุโลก.
วรรณี โสมประยูร. (2553). เทคนิคการสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญาวิชาการ.
ศุทธินี หางแก้ว. (2562). การพัฒนาเพลงประกอบการเรียนการสอนสังคมศึกษาและภาษาไทย
สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน), (2564). สรุปผลการทดสอบ
ทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2563.
กรุงเทพฯ: สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน).
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน
ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุชาดา ตั้งศิรินทร์. (2563). เอกสารประกอบการสอน รายวิชา 1124618 วิธีสอนภาษาไทยสำหรับ
ประถมศึกษา. นครสวรรค์: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
อรรถพงษ์ ผิวเหลือง, บัญชา เกียรติจรุงพันธุ์ และณัฐกิตติ์ สิริวัฒนาทากุล. (2563). สภาพการ
จัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย: แนวทางในการแก้ปัญหา. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร,8,2
(กรกฎาคม – ธันวาคม 2553).
Dunaway, K. M. (2011). Connectivism: Learning theory and pedagogical practice
for networked information landscapes. Reference Services Review,39,4
(November, 2011).