การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา ของนักศึกษาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Main Article Content

กรวิกา สุวรรณกูล
สมยงค์ สีขาว
แพรวนภา เรียงริลา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปีการศึกษา 2565 จำนวน 1 ห้อง จำนวนนักศึกษา 30 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา แบบวัดการเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมาก สามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านความกระตือรือร้นทางการเรียน (ค่าเฉลี่ย 4.22, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73) ด้านความรับผิดชอบตนเองทางการเรียน (ค่าเฉลี่ย4.18, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.71) ด้านการรู้จักวางแผนทางการเรียน (ค่าเฉลี่ย 4.14, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.70) และด้านความกล้าเสี่ยงทางการเรียน (ค่าเฉลี่ย 4.10, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.73) และความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้การเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมจิตศึกษา อยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

กานดา คำมาก. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาแคลคูลัส 1. รายงาน

การวิจัย. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

เขียน วันทนียตระกูล.(2553). แรงจูงใจมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างไร. สืบค้นเมื่อ 10

กรกฎาคม 2565 จาก http://lanna.mbu.ac.th/articles/Intrinsic_Kh.asp.

ดลฤดี ไชยศิริ. (2563). การส่งเสริมแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบ

ผสมผสานร่วมกับแนวคิดเกมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนผดุงนารี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 21. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. หน้า 576-584.

นุชจรีย์ หงส์เหลี่ยม. (2559). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาแพทย์ คณะ

แพทยศาสตร์แห่งหนึ่งในประเทศไทย. วารสารเวชบันทึกศิริราช. 9(3), 131-138.

พลวัต วุฒิประจักษ์. (2553). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาจิตตปัญญาศึกษา สำหรับนักศึกษาครู

เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะบัณฑิตครูที่พึงประสงค์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิจักขณ์ พานิช. (2550). การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ: การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาทางจิต

วิญญาณ. กรุงเทพฯ: สวนเงินมีมา.

วิเชียร ไชยบัง. (2554). จิตศึกษากับการบ่มเพาะปัญญาภายใน. บุรีรัมย์: สำนักพิมพ์โรงเรียนลำ

ปลายมาศพัฒนา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:

กระทรวงศึกษาธิการ.

วัชรินทร์ อุดหนองเลา. (2565). จิตศึกษากับการพัฒนาการเรียนรู้อย่างมีความสุขในยุคความปรกติ

ใหม่ : กรณีศึกษา โรงเรียนแหลมสิงห์วิทยาคม “อาทรสังขะวัฒนะ 4 อุปถัมภ์” สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรี ตราด. วารสารสังคมพัฒนศาสตร์. 5(1), 58-71.

McClelland, D. C. (1961).The Achievement Motive. New York: Prentice-Hall.