ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ตามความคิดเห็นของครู 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวน 317 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา คือค่า IOC ซึ่งอยู่ระหว่าง .67 - 1.00 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ ด้วยวิธี Least Significant Difference (LSD) ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาตามลำดับคือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล อยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ตามความคิดเห็นของครู โดยจำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียน พบว่า ครูที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงาน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05
Article Details
References
ญาณี ขำสุวรรณ. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในอำเภอ
เมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรีสังกัดสำนักงานการศึกษามัธยมศึกษาจันทบุรีเขต 17.
บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ธนภัทร พึ่งพงษ์. (2564). ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร
สถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่ม 2
กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธีรศักดิ์ สารสมัคร. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคการศึกษา
0 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
นวรัตน์วดี ชินอัครวัฒน์ (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา
ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นฤมล โยคานุกุล (2556). ภาวะผ้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัด
องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
ราชวิทยาลัย.
เบญจรัตน์ บุญประเสริฐ. (2560). ภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะ
ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดระยอง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 18. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
พนัชกร พองาม. (2558). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา : กรณีศึกษา
โรงเรียนบ้านหมอ“พัฒนานุกุล”. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ล้านนา มาปลูก. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สห
วิทยาเขตสุดถิ่นไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยพะเยา.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ และคณะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับ
ปรับปรุง ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์แห่ง
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. (2565). รายงานการกำกับติดตามการ
ดำเนินงานประจำปี ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี พ.ศ.2565 ของกลุ่มนโยบายและ
แผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25
ตุลาคม 2565, จาก https://main.spmnonthaburi.go.th/
_______.(2565). ข้อมูลสารสนเทศสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี ปี
การศึกษา 2565 ณ เดือนกรกฎาคม 2565. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565,
จาก https://main.spmnonthaburi.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐานปีงบประมาณ พ.ศ.2564. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2565,
จาก http://www.mathayom9.go.th/
สำนัักงานพััฒนารััฐบาลดิิจิิทััล. (2563). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563-
ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา. กรุงเทพ : สำนัักงานพััฒนารััฐบาลดิิจิิทััล
(องค์์การมหาชน).
Bass and Avolio. (2003). Transformational Leadership Development. Pola Alto,
California : Consulting Psychologists. Department of Health. (2020). A
practical guide for schools to prevent the spread of COVID-19. Author.
Leithwood, K. and Jantzi, D. (1996). Toward an Explanation of Variation in
Teacher’s Perceptions of Transformational School Leadership.
Educational Administration Quarterly.