วิเคราะห์ความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียในการปรับปรุงหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2567) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) กำหนดวัตถุประสงค์ 2) กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ และ 3) กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปีของหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา หลักสูตร 4 ปี (ปรับปรุง พ.ศ. 2567) คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษา ศิษย์เก่า อาจารย์ผู้สอน ผู้ใช้บัณฑิต สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 20 คน กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ประเด็นในการประชุมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลจากประเด็นประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูล โดยการตรวจสอบสามเส้าด้านวิธีรวบรวมข้อมูลร่วมกับวิธีการสังเกตและข้อมูลจากแหล่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร ได้แก่ 1.1) ประยุกต์องค์ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีดิจิทัลฯ 1.2) สื่อสารอย่างมีทักษะทางภาษาฯ และมีความฉลาดรู้ดิจิทัลและมีทักษะศตวรรษที่ 21 1.3) ปฏิบัติตนให้มีคุณธรรมจริยธรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีครูฯ และ 1.4) มีบุคลิกภาพความเป็นครูทางด้านคอมพิวเตอร์ฯ 2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร PLO1 มีความรู้ด้านคอมพิวเตอร์ฯ รวมทั้งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 PLO2 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านเทคโนโลยีฯ PLO3 สามารถจัดการเรียนรู้และพัฒนานวัตกรรมได้อย่างสร้างสรรค์ PLO4 ใช้ทักษะศตวรรษที่ 21 ในการดำเนินชีวิตฯ PLO5 นำความรู้ทางศาสตร์ต่างๆ มาประยุกต์ใช้ฯ PLO6 มีคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นครูมืออาชีพ และ PLO7 ความสามารถสื่อสารและเผยแพร่องค์ความรู้ฯ และ 3) ผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี 1 รู้ เข้าใจ ประยุกต์ใช้ และมีทักษะการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ จัดการงานเอกสารและสำนักงานอัตโนมัติอย่างทันสมัย และซ่อมบำรุงคอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจรรยาบรรณทางคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี 2 มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ สามารถออกแบบและสร้างงานกราฟิก และสื่อ ออกแบบพัฒนาโปรแกรมและระบบฐานข้อมูล และสามารถเป็นผู้ช่วยได้ ผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี 3 เป็นผู้ช่วยสอนร่วมกับครูประจำการ และดูแลระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ พัฒนาและผลิตสื่อการเรียนรู้ เกมการเรียนรู้แบบ Unplug ผลลัพธ์การเรียนรู้รายชั้นปี 4 ครูปฏิบัติงานและพัฒนานวัตกรรมทางคอมพิวเตอร์
Article Details
References
ทะเนศ วงศ์นาม และทิพรัตน์ สิทธิวงศ์. (2562). การศึกษาความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อหลักสูตรเทคโนโลยีการศึกษาและคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีที่ 21 ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน 2565. หน้า 111-121.
ราชกิจจานุเบกษา. (2565). ประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา “เรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 212 ง หน้า 35 ลงวันที่ 9 กันยายน 2565.
Department of Educational Technology and Communication. (2015). Internal quality assurance document. Department of educational technology and communication B.E. 2015. Phitsanulok: Faculty of Education Naresuan University. [in Thai].
Office of the Social Promotion for Learning and Quality of Youth. (2014). Enhancing the quality of Thai teachers in the 21st century. In the working papers “Apiwat Learning to change Thailand” (6-8 May 2014). [in Thai].