การพัฒนาชุดฝึกออนไลน์เพื่อเสริมสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของคุรุสภา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาด้านสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของคุรุสภาเพื่อจัดทำชุดฝึกออนไลน์ 2) พัฒนาและประเมินชุดฝึกออนไลน์เพื่อเสริมสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของคุรุสภา และ 3) ศึกษาผลการใช้ชุดฝึกออนไลน์เพื่อเสริมสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของคุรุสภา ด้านสมรรถนะและด้านความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกออนไลน์ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 64 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) ชุดฝึกออนไลน์เพื่อเสริมสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของคุรุสภา 2) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกออนไลน์เพื่อเสริมสมรรถนะตาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดฝึกออนไลน์เพื่อเสริมสมรรถนะตามมาตรฐานความรู้วิชาชีพของคุรุสภา ประกอบด้วย 3 ชุด คือ ชุดฝึกที่ 1 หลักการและการสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ชุดฝึกที่ 2 จิตวิทยาการให้คำปรึกษา และชุดฝึกที่ 3 การจัดทำแผนการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ
2) ผลการหาคุณภาพของชุดฝึกออนไลน์ฯ ได้ผลดังนี้ คุณภาพด้านเนื้อหาและองค์ประกอบของชุดฝึกออนไลน์ทั้ง 3 ชุด มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X̅= 4.97, S.D. = 0.04), (X̅= 4.81, S.D. = 0.32) และ (X̅ = 4.75, S.D. = 0.43) ตามลำดับ คุณภาพด้านเว็บไซต์ มีความเหมาะสมระดับมาก (X̅ = 4.20, S.D. = 0.24)
3) ผลการใช้ชุดฝึกออนไลน์ พบว่านักศึกษากลุ่มเป้าหมายมีสมรรถนะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความคิดเห็นต่อการใช้ชุดฝึกออนไลน์ฯ ทั้ง 3 ชุด ระดับมากที่สุด
Article Details
References
กลัญญู เพชราภรณ์. (2564). เอกสารประกอบการสอนวิชาคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและจิตวิญญาณความเป็นครู. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา: กรุงเทพมหานคร.
กรนาลิน สาริยา. (2557). การพัฒนากรอบการประเมินสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้และการรู้วิชาเฉพาะด้าน ของนักศึกษาครูเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษา. รายงานผลการวิจัย. บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา. (2562). ปฏิรูปการศึกษาไทย รายงานของคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (Online). http://www.thaiedreform.org/wpcontent/upload/ 2019/06/commissionReport050662.pdf, 24 สิงหาคม 2563.
จริยา พ่วงจีน. (2560). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านภาษาไทย สำหรับนักเรียนโรงเรียนนนทบุรีวิทยาลัยที่ไม่ได้ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ โดยใช้เทคนิคสแกฟโฟลดิง. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เจนจิรา หวังหลี. (2564). เอกสารประกอบการอบรม การใช้งาน Google Tool (Online). https://www.tpeotrang.go.th/wp-content/uploads/2021/10/G-suit.pdf, 15 กรกฎาคม 2565.
ชาตรี มณีโกศล. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นครูด้านคุณธรรมจริยธรรม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 12(2): 147-163.
ดนัยศักดิ์ กาโร. (2562). ปฏิวัติการสอนสู่ห้องเรียน 4.0 ด้วย Google for Education. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2550). นวัตกรรมทางการศึกษา ชุดแบบฝึกหัด-แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อพัฒนาผู้เรียนและการจัดทำงานวิชาการของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา (ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ธารอักษร.
นุชนารถ ผ่องพุฒิ. (2558). การศึกษาผลการใช้ชุดการเรียนรู้เพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการจัดการ
เรียนรู้กับความเป็นครูสำหรับผู้ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 6(2): 97-106.
บุญฤดี อุดมผล. (2563). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะความเป็นครูเชิงพุทธบูรณาการของ
นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎ. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา. 10(2): 158-170.
ราชกิจจานุเบกษา. (2562). เล่มที่ 136 ตอนพิเศษ 68 ง. หน้า 18-20.
วิไลลักษณ์ ลังกา. (2560). อนาคตภาพของคุณลักษณะครูไทยในศตวรรษหน้า (พ.ศ.2560-2569). วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. 11 (1): 36-50.
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). เรื่องเล่าอุดมศึกษา. อนุสารอุดมศึกษา. 45(495): 10-11.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). รายงานผลการศึกษาการพัฒนามาตรฐานการศึกษาของต่างประเทศ. นนทบุรี: 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.
อัญชลีพร มั่นคง. (2560). การศึกษาและพัฒนาชุดฝึกอบรมการสร้างสื่อการเรียนการสอนโดยใช้ไอซีทีสำหรับครูในโรงเรียนตำรสจตะเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ 41. สุราษฎร์ธานี : มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.
เอกรินทร์ วาโย. (2560). การพัฒนาชุดฝึกการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือ รายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา. 7(14): 1-8.
Duke, C.R. (1975). Learning Activity Packages: Construction and Implementation. The High School Journal. 58 (7): 312-321, http://www.jstor.org/stable/40365621, November 20, 2020.
Ngabekti, S., Prasetyo, A. P. B. , Hardianti, R. D. , and Teampanpong, J. (2019). The Development of STEM Mobile Learning Package Ecosystem. Journal Pendidikan IPA Indonesia. 8 (1): 81-88 (Online). http://journal.unnes.ac.id/index.php/jpii, November 19, 2020.
Pual Darbyshire and Adam Darbyshire. (2010). Getting Start ED whit Google Apps (Online). https://www.researchgate.net/publication/302313694_Google_Sites.